4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 46

The Coverage ออนไลน์ รายงานผ่านหัวข้อข่าวว่า กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการแพทย์ไทย ขยับ จัดมหกรรมใหญ่ เคลื่อนไทยสู่ ‘Medical Hub’ 

'อุตสาหกรรมทางการแพทย์ครบวงจร' ถูกรัฐบาลตั้งความหวัง (Expectation) ให้เป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่จะเข้ามาเป็นกลไก (Mechanism) ขับเคลื่อน (Drive) 3 เครื่องยนต์หลักทางเศรษฐกิจ (Economic engine) ของประเทศไทย กล่าวคือ การส่งออก (Export) – การท่องเที่ยว (Tourism) – การลงทุน (Investment)

ตลอดจนเพิ่มศักยภาพ (Potential) การแข่งขันทางการค้า (Trade competition) ของประเทศไทยในเวทีโลก (Global stage) ผ่านการพัฒนา (Development) เทคโนโลยี หรือสร้างนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ๆ โดยเห็นได้จากการยกให้อุตสาหกรรมนี้เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรม New S-Curve

อุตสาหกรรมดังกล่าว คาดว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในด้านนี้ของภูมิภาค (Region) ซึ่งนั่นหมายความว่าในห้วงเวลานี้อุตสาหกรรมการแพทย์ของไทย จะได้รับการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการยก (Raise) ระดับและพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ของภูมิภาค หรืออย่างน้อยก็เป็นหนึ่งในอาเซียน (ASEAN = Association of South-East Asia Nations) ให้ได้ 

นับว่าเป็นเป้าหมายใหญ่ (Major target) และท้าทาย (Challenging) พอสมควร ที่รัฐบาลต้องหาทางขับเคลื่อนให้เดินหน้า (Forward) ไปสู่สิ่งที่ต้องการให้ได้ ขณะเดียวกันเมื่อมองมายังศักยภาพ (Potential) อุตสาหกรรมการแพทย์ไทยในปัจจุบัน กับเป้าหมายสู่การไปเป็นหนึ่งในภูมิภาคดังกล่าว ย่อมเกิดคำถามขึ้นว่า ไทยจะสามารถบรรลุ (Attain) การไปสู่จุดนั้นได้หรือไม่ 

แรงหนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมทางการแพทย์ที่เกิดขึ้น ด้าน (Aspect) หนึ่งต้องยอมรับว่าจุดแข็ง (Strength) ของอุตสาหกรรมนี้ เกิดจากอัตราการเจ็บป่วย (Sickness rate) ที่แนวโน้มสูงขึ้นจากสังคมวัยชรา (Aging society), การเกิดโรคอุบัติใหม่ (Emerging), และการเติบโตของตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์-สุขภาพ (Medical tourism)

บวกกับอีกจุดแข็งของประเทศ คือ บุคลากรทางการแพทย์ (Medical staff), คุณภาพการรักษา (Treatment quality) และราคารักษา (Charge) เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก (Global acceptance), ควบรวมไปกับความต้องการ (Demand) เครื่องมือแพทย์ (Medical device) และ อุปกรณ์การแพทย์ (Medical equipment) ที่เพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกสำคัญของไทย

และแรงส่ง (Reinforce) สุดท้ายให้วิ่งฉิว คือรัฐส่งเสริม (Promote) ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (International Health Center) และศูนย์กลางการผลิตเครื่องมือแพทย์ (Medical-Device Production Center) ในอาเซียน 

นี่สิ่งที่นักวิเคราะห์การตลาด (Market analyst) มองเห็น และสะท้อน (Reflect) ออกมาเป็นการเติบโตของตลาด (Market growth) เครื่องมือแพทย์ สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน (Current situation) ข้อมูลที่พยากรณ์ (Forecast) โดยหน่วยวิจัย (Research) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า ตลาดเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ระหว่างปี พ.ศ. 2566 ถึง พ.ศ. 2568 มีมูลค่าจำหน่ายภายในประเทศ (Domestic) จะเติบโตอยู่ที่ประมาณ 5.5 ถึง 7% ต่อปี ในขณะที่การส่งออก (Export) ก็จะโตเช่นกัน เพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ย 6.5  ถึง 7.5% ต่อปี

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.thecoverage.info/news/content/7047 [2024, December 4].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2024, December 4].