4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 45

ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดเครื่องมือแพทย์ จาก 3 แหล่งสอดคล้องกัน เริ่มด้วยกรมประชาสัมพันธ์ (Government Public Relations Department) ที่รายงานว่า 

ตลาดเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ในประเทศไทยมีแนวโน้ม (Trend) เติบโตอย่างต่อเนื่อง (Continuous growth) โดยมีการพยากรณ์กันว่า ในปี พ.ศ. 2570 ตลาดเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย จะมีมูลค่ากว่าแสนล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย ระหว่างปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2570 อยู่ที่ 8.1%

ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากความต้องการ (Demand) นวัตกรรมทางการแพทย์ (Medical innovation) ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (Significance) และความเชื่อมั่น (Confidence) ว่า ประเทศไทย มีความพร้อม (Readiness) ที่จะตอบรับ (Respond) กระแสความต้องการดังกล่าว

ปัจจุบัน ทั่วโลกตระหนักถึง (Awareness) ประเด็น (Issue) ทางด้านสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดเครื่องมือแพทย์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย (Thai Medical Device Technology Industry Association: THAIMED) พบว่าตลาดเครื่องมือแพทย์ของโลกเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.1%

THAIMED พยากรณ์ (Forecast) ว่าในปี พ.ศ. 2570 ตลาดเครื่องมือแพทย์ทั่วโลก จะมีมูลค่าอยู่ที่ 7.44 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 26.04 ล้านล้านบาท) ส่วนมูลค่าตลาดในประเทศไทยในปีดังกล่าว จะอยู่ที่ 3.38 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 11.83 ล้านล้านบาท) โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 8.1% ระหว่างปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2570

นอกจากนี้ งานวิจัย (Research) ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา พบว่าในปี พ.ศ. 2565 ถึง พ.ศ. 2566 มูลค่าตลาดโลกที่จำหน่ายเครื่องมือแพทย์เติบโต 6.1% ในบรรดาความต้องการ (Demand) อุปกรณ์การแพทย์ (Medical equipment) ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย (Hygiene) และการดูแลสุขภาพ (Healthcare) ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจาก . . .

  1. อัตราการเจ็บป่วยมีแนวโน้ม (Trend) เพิ่มขึ้นจากโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCD) เรื้อรัง (Chronic)
  2. จำนวนผู้ป่วยต่างชาติ (Foreign patients) ที่มีแนวโน้มกลับมา (Return) ใช้บริการในประเทศไทยเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2565 ถึง พ.ศ. 2566
  3. ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) โรงพยาบาลมีแผนขยาย (Expansion plan) การลงทุนต่อเนื่อง (Continuous investment)
  4. กระแส (Fever) การใส่ใจสุขภาพ (Health consciousness) และการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร (Comprehensive) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก
  5. คู่ค้าหลัก (Major trade partner) ของประเทศไทย ยังมีความจำเป็น (Need) และความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญ
  6. นโยบาย (Policy) สนับสนุนจากรัฐบาล ในการพัฒนา (Development) ให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (International Medical Hub)
  7. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product)/นวัตกรรม (Innovation) การแพทย์ใหม่ที่ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced technology) มากขึ้น

แหล่งข้อมูล

  1. https://region2.prd.go.th/th/content/category/detail/id/1169/iid/189157 [2024, November 19].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2024, November 19].