4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 38
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 14 สิงหาคม 2567
- Tweet
- การเติบโตดังกล่าวสะท้อนว่า ตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism) ของไทยซึ่งรวมถึงด้านการแพทย์ มีโอกาสเติบโตในทิศทาง (Direction) เดียวกับตลาดโลก (Global market) จากจุดแข็ง (Strength) ด้านอัตราค่ารักษาพยาบาล (Health-care expenditure) ที่ถูกกว่าประเทศคู่แข่งขัน เมื่อเทียบคุณภาพบริการ (Service quality) ที่ได้มาตรฐาน (Standard) เป็นที่ยอมรับ (Acceptable)
ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนสถานพยาบาลของไทยผ่านมาตรฐานสากล JCI (= Joint Commission International) ก็สูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน นอกจากนี้ ระบบสาธารณสุข (Public health) ไทยยังได้รับการจัดอันดับความมั่นคง (Health security) ตามดัชนีโลก (Global index) ปี ค.ศ. 2021 เป็นอันดับ 5 ของโลกจาก 195 ประเทศ
และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย เนื่องจากความเชื่อมั่น (Confidence) ที่ดีขึ้นต่อระบบการแพทย์ (Medical system) ของไทยในระดับโลก ได้มีส่วนช่วยจูงใจ (Convince) ให้ผู้ป่วยต่างชาติและนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเข้ามาใช้บริการการแพทย์โดยเฉพาะหลังวิกฤติ (Crisis) COVID-19
Allied Market Research (บริษัทวิจัยตลาดระดับสากล) ได้ประเมินตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทย ว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 346.5 พันล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2566 เป็น 24.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 854 พันล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2570 ทำให้ความต้องการ (Demand) ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือการแพทย์จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- กระแสดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive) มีแนวโน้มได้รับความนิยม (Popularity) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัส COVID-19 ทำให้คนเพิ่มความระมัดระวัง (Caution) ด้านสุขอนามัย (Hygiene) มากขึ้น มีการลงทุน (Investment) ดูแลสุขภาพในระยะยาว (Long term)
ความต้องการดูแลสุขภาพที่ทำได้ด้วยตนเอง (Self-care) จึงเพิ่มโอกาสแก่ธุรกิจ (Business opportunity) เครื่องมือแพทย์ (Medical device) ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์การแพทย์ (Medical equipment) ที่สามารถใช้งานได้เองที่บ้าน (Home use)
ตัวอย่าเช่น เครื่องฟอกอากาศ (Air purifier) แบบพกพา (Portable), น้ำยาฆ่าเชื้อ (Disinfectant), อุปกรณ์ติดตาม (Monitor) การนอนหลับ หรือผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริม (Promote) การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ, เครื่องวัดสุขภาพหัวใจส่วนบุคคล (Personal), เครื่องวัดความดัน (Blood-pressure monitor) แบบใส่ข้อมือ, และเครื่องตรวจวัดค่าน้ำตาล (Blood-glucose monitor)
ในขณะเดียวกัน การเติบโตของธุรกิจดูแลสุขภาพ (Health-care) และความงาม (Aesthetics) สนับสนุนให้มีความต้องการเครื่องมือแพทย์ (Medical device) และอุปกรณ์การแพทย์ (Medical equipment) ที่เกี่ยวเนื่อง (Related) เพิ่มขึ้นตามมา เช่น เครื่องเลเซอร์ผิวหน้า (Facial laser), เครื่องสลายไขมัน (Lipolysis) และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำศัลยกรรม (Surgical instrument)
Euromonitor (บริษัทวิจัยการตลาดระดับสากล) ประเมินตลาดผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ (Health products) ทั่วโลกจะเติบโตเฉลี่ย +5.7% ต่อปีในช่วงปี พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ.2568 สูงกว่าค่าเฉลี่ย +3.4% ในช่วง 5 ปีก่อนหน้านี้ (ปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563)
แหล่งข้อมูล –