4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 37
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 31 กรกฎาคม 2567
- Tweet
แนวโน้ม (Trend) การเติบโตของธุรกิจ (Business growth) ที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลสุขภาพ (Health-care) เช่น ธุรกิจความงาม (Aesthetics), ศูนย์แพทย์เฉพาะทาง (Specialty) และศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care) ครบวงจร (One-stop-service) จึงมีส่วนช่วยหนุน (Bolster) การเติบโตของตลาดเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ของไทย
ด้านมูลค่าส่งออก (Export) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.5 ถึง 7.5% ต่อปี จากความต้องการผลิตภัณฑ์ป้องกันการติดเชื้อ (Infection prevention) ในกลุ่มวัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) อาทิ เลนส์แว่นตา (Ocular lens) และถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical glove) รวมถึงกลุ่มน้ำยา (Reagent) และชุดวินิจฉัยโรค (Diagnostic kit) โดยปัจจัย (Factor) สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรม มีดังนี้
- อัตราการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases: NCDs) เรื้อรัง (Chronic) มีแนวโน้มสูงขึ้นเช่น โรคเบาหวาน (Diabetes), โรคหัวใจ (Heart disease), โรคหลอดเลือดในสมองตีบ (Stroke), และโรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก
-
- การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Completely-Aged society)ทำให้มีความต้องการรักษาโรคซับซ้อน (Complication) และต่อเนื่องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง (Hyper-tension) (มีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่ง ของประชากรผู้สูงอายุ (Geriatric population) ทั้งหมด รองลงมาคือ โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดในสมองตีบ, และโรคมะเร็ง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (Office of the Economic and Social Development Council: NESCD) คาดว่าไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ (สัดส่วนมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ) ในปี พ.ศ. 2566 และระดับสุดยอด [Super] (สัดส่วนมากกว่า 28%) ในปี พ.ศ. 2576
สภาวะนี้ จะส่งผลให้มีความต้องการ (Demand) ใช้เครื่องมือแพทย์และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อรักษาโรคเรื้อรัง และอำนวยความสะดวก (Facilitate) ในชีวิตประจำวัน (Daily life) สำหรับผู้สูงอายุ เช่น เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen concentrator), เครื่องพ่นยา (Nebulizer), และราวจับช่วยเดิน (Hand-rail) เป็นต้น
-
- การเกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging infection disease) เช่น โรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (Severe acute respiratory syndrome: SARS), โรคไข้หวัดใหญ่สุกร (H1N1 2009), โรคติดเชื้อไวรัสเลือดออกอีโบลา (Ebola), โรคติดเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบซิก้า (Zika), โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และโรคฝีดาษลิง (Monkey pox)
นอกจากนี้ยังมี โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infection disease) เช่น วัณโรค (Tuberculosis) และมาลาเรีย (Malaria) ทำให้ความต้องการอุปกรณ์ในการตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic equipment) และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- ตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness tourism) มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องโดยสถานบันสุขภาวะสมบูรณ์แห่งโลก (Global Wellness Institute: GWI) ประเมินว่าตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism) ของโลกมีแนวโน้มเติบโตจาก 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 154 ล้านล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2563 เป็น 11.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 395.5 ล้านล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2568 หรือเติบโตเฉลี่ย 20.9% ต่อปี
แหล่งข้อมูล –