4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 36

  • มูลค่าส่งออกเครื่องมือแพทย์ (Medical device) อยู่ที่ 9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.1% จากปีก่อนจากการเพิ่มขึ้นของตลาดญี่ปุ่น (+28.9% จากปีก่อน) จำแนกเป็นกลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ (Medical supplies) [สัดส่วน 87.1% ของมูลค่าส่งออก (Export) เครื่องมือแพทย์ทั้งหมด] มีมูลค่า 5.2 หมื่นล้านบาท (+5.4% จากปีก่อน)

ทั้งนี้ การส่งออกถุงมือยาง/ถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical glove) กระเตื้องขึ้น (Improve) โดยหดตัว (Shrink) เพียง -0.3% จากปีก่อน (เทียบกับ -76.1% ในช่วงเดียวกันปี 2565) โดยเพิ่มขึ้น (Increase) มากในตลาดสหรัฐอเมริกา (+31.5% จากปีก่อน ) และญี่ปุ่น (+13.8% จากปีก่อน) และอุปกรณ์ทางจักษุวิทยา (Ophthalmology) เพิ่มขึ้น 7.2% จากปีก่อน 

กลุ่มครุภัณฑ์ [Durable group] (สัดส่วน 10.6%) มูลค่า 6.3 พันล้านบาท หดตัว -6.4% จากปีก่อน และกลุ่มน้ำยา (Reagent) และชุดวินิจฉัยโรค [Diagnostics] (สัดส่วน 2.3%) มูลค่า 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.7% จากปีก่อนหน้านี้

  • มูลค่านำเข้า (Import) เครื่องมือแพทย์อยู่ที่ 6 หมื่นล้านบาท หดตัว -8.8% จากปีก่อนเป็นการลดลง (Decrease) ในกลุ่มน้ำยาและชุดวินิจฉัยโรค (สัดส่วน 20.2% ของมูลค่านำเข้าเครื่องมือแพทย์) -53.1% จากปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 9.3 พันล้านบาท โดยหมวดอุปกรณ์การวินิจฉัย รวมถึงน้ำยาตรวจเลือดหดตัว -52.9% จากปีก่อน

ส่วนกลุ่มวัสดุสิ้นเปลือง (สัดส่วน 45.2%) เพิ่มขึ้น 19.6% จากปีก่อน มูลค่า 2.1 หมื่นล้านบาท และกลุ่มครุภัณฑ์ (สัดส่วน 34.5%) เพิ่มขึ้น 20.6% จากปีก่อน มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท สำหรับสินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (Continuous) ได้แก่ อุปกรณ์ทางจักษุวิทยา (+14.0% จากปีก่อน) เครื่องวินิจฉัยโรคด้วยไฟฟ้า [Electric diagnostics] (+18.1% จากปีก่อน) และอุปกรณ์วินิจฉัย (Diagnostic equipment) หรือรักษาด้วยรังสี [Therapeutic equipment] (+56.5% จากปีก่อน)

ด้านตลาดนำเข้าหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (+12.4% จากปีก่อน), เยอรมนี (+29.1% จากปีก่อน), และญี่ปุ่น (+11.5% จากปีก่อน) ส่วนตลาดจีนหดตัว -53.9% จากปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรม

  • ปี พ.ศ. 2566 ถึง พ.ศ. 2568 ตลาดเครื่องมือแพทย์มีแนวโน้มเติบโตในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยคาดว่ามูลค่าจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศจะขยายตัว 5% ในปี 2566 ก่อนปรับขึ้นเล็กน้อยในปี 2567 และ 2568 ที่ระดับเฉลี่ย 6.0-7.0% ต่อปี

ผลจากทิศทางเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัว (Recover) อย่างค่อยเป็นค่อยไป (Gradual) ทำให้ประชาชนสามารถกลับมา (Return) ใช้บริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลได้มากขึ้น ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Foreign tourist) จะทยอยปรับเพิ่มขึ้นจนใกล้เคียงระดับ (Level) ก่อนเกิด COVID-19 ภายในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งในจำนวนนี้มีกลุ่มผู้ป่วยต่างชาติและนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism) ที่จะเข้ามาใช้บริการด้านสุขภาพในไทยรวมอยู่ด้วย จากคุณภาพการบริการ (Service quality) ทางการแพทย์ของไทยที่ได้มาตรฐานสากล (International standard)

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/other-industries/medical-devices/io/medical-devices-2023-2025 [2024, July 16].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2024, July 16].