4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 34

ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกลดลงมาก (Drastic drop) ในกลุ่มวัสดุสิ้นเปลือง (Single-use) สัดส่วน (Proportion) 85.3% ของมูลค่าส่งออก (Export value) ของเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ทั้งหมด หดตัว (Shrink) -38.5% จากปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 1.0 แสนล้านบาท โดยเฉพาะถุงมือยาง (Rubber glove)/ถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical glove) โดยที่สัดส่วนเหลือเพียง 22.9% เทียบกับ 54.5% ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งหดตัวถึง -72.1% จากปีก่อน ผลจากวิกฤติ (Crisis) ไวรัส COVID-19 ทำให้มีผู้ผลิต (Manufacturer) ถุงมือยางรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากในหลายประเทศ (เช่น จีนและเวียดนาม) เข้ามาชิงส่วนแบ่งในตลาดโลก (Global market share)

ในปี พ.ศ. 2564 จีนแซงหน้า (Surpass) ไทยเป็นผู้ส่งออกถุงมือยางอันดับ 2 ของโลก รองจากมาเลเซีย อีกทั้งมีการเร่ง (Accelerate) นำเข้าไปแล้วในช่วงปี พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 โดยการส่งออกถุงมือยางจากไทยไปตลาดสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเป็นผู้นำเข้าถุงมือยางอันดับ 1 ของโลก มีสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของมูลค่านำเข้าถุงมือยางทั่วโลก) หดตัวถึง -92.9% จากปีก่อน

ส่วนกลุ่มครุภัณฑ์ (Medical equipment) ซึ่งมีสัดส่วน 12.2% และ เพิ่มขึ้น 29.7% จากปีก่อน มูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าประเมิน (Assess) ว่าการส่งออกเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care) เติบโต 19.2% จากปีก่อน และกลุ่มน้ำยา (Re-agent) และชุดวินิจฉัยโรค (Diagnostic kit) โดยสัดส่วน 2.5% เพิ่มขึ้น 12.2% จากปีก่อน มูลค่า 0.3 หมื่นล้านบาท ด้านสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่

  1. เครื่องมืออุปกรณ์ทางจักษุวิทยา (Ophthalmic and optical devices) มูลค่า 7 หมื่นล้านบาท
  2. ถุงมือยางทางการแพทย์มูลค่า 7 หมื่นล้านบาท และ
  3. หลอดและเข็มฉีดยา มูลค่า 6 หมื่นล้านบาท

การนำเข้า (Import) เครื่องมือแพทย์ มีมูลค่า 9.7 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง (Slow-down) ที่ 2.5% จากปีก่อน (เทียบกับ 20.1% จากปีก่อน) โดยมูลค่านำเข้า กลุ่มวัสดุสิ้นเปลือง (สัดส่วน 38.2% ของการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ทั้งหมด) เพิ่มขึ้น 0.7% จากปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 3.7 หมื่นล้านบาท กลุ่มครุภัณฑ์ (สัดส่วน 30.3%) หดตัว -0.5% จากปีก่อน มูลค่า 2.9 หมื่นล้านบาท และกลุ่มน้ำยาและชุดวินิจฉัยโรค (สัดส่วน 31.5%) +7.9% จากปีก่อน มูลค่า 3.1 หมื่นล้านบาท (มากกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในปี พ.ศ. 2562 จากความต้องการน้ำยาและชุดตรวจวินิจฉัยไวรัส COVID-19)

สำหรับสินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อันได้แก่ อุปกรณ์การวินิจฉัยรวมถึงน้ำยาตรวจเลือด (In vitro diagnostic devices) (สัดส่วน 31.4% ของมูลค่านำเข้าเครื่องมือแพทย์) +7.6% จากปีก่อน อุปกรณ์ทางจักษุ (สัดส่วน 13.7%) +14.9% จากปีก่อน เครื่องวินิจฉัยโรคด้วยไฟฟ้า (Electro mechanical medical devices) (สัดส่วน 13.4%) +4.1% จากปีก่อน และอุปกรณ์วินิจฉัยหรือรักษาด้วยรังสี (Diagnostic and therapeutic radiation devices) (สัดส่วน 6.4%) +9.3% จากปีก่อน โดยไทยนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากจีน (สัดส่วน 27.9% ของมูลค่านำเข้าเครื่องมือแพทย์ทั้งหมด) เพิ่มขึ้น +11.5% จากปีก่อน, สหรัฐอเมริกา (สัดส่วน 17.3%) +10.1% จากปีก่อน, และญี่ปุ่น (สัดส่วน 5.9%) +6.7% จากปีก่อน 

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/other-industries/medical-devices/io/medical-devices-2023-2025 [2024, June 18].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2024, June 18].