4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 33
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 5 มิถุนายน 2567
- Tweet
ปี พ.ศ. 2565 อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ (Medical-device industry) มีทิศทาง (Direction) เติบโตต่อเนื่อง (Continuous growth) อันเป็นผลจาก
- เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไป (Gradual recovery) ที่ระดับ 6% จากปีก่อน ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic and social activities) กลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงปรกติ (Back to normal) ซึ่งรวมถึงการกลับมาใช้บริการของผู้ป่วยในโรงพยาบาล
- การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Foreign tourist) เต็มรูปแบบ (ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) ทำให้ผู้ป่วยต่างชาติ (Foreign patient) [รวมกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ] ทยอยกลับมาใช้บริการในไทยหลังชะลอไป (Decline) ในช่วง ไวรัส COVID-19 แพร่ระบาด
- จำนวนผู้ติดเชื้อ (Infected) ไวรัส COVID-19 ที่มีอยู่ต่อเนื่อง ทำให้มีความต้องการ (Demand) อุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น เช่น การตรวจหาเชื้อ (Diagnosis), การฉีดวัคซีน (Vaccination) และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ (Infection prevention) เช่น หน้ากากอนามัย (Sanitary mask) และถุงมือยาง (Rubber glove)/ถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical glove) ปัจจัย (Factor) ข้างต้น ทำให้ความต้องการ (Demand) ใช้อุปกรณ์การแพทย์เพื่อรักษาโรคที่ซับซ้อน (Complicated) ในโรงพยาบาลและเครื่องมือตรวจคัดกรองสุขภาพ (Health screening) มีมากขึ้น เช่น เตียงผู้ป่วย, เครื่อง X-ray, เครื่อง MRI (Magnetic resonance imaging: MRI หรือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า) และชุดตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic kit)
สำหรับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์โดยรวม สรุปได้ดังนี้
- การผลิต (Manufacture) เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 หลังหดตัวรุนแรงในช่วงวิกฤต (Crisis) ไวรัส COVID-19 ในปี พ.ศ. 2563 สะท้อน (Reflect) จากดัชนีผลิตผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing production index: MPI) อุปกรณ์การแพทย์เฉลี่ยที่ระดับ 7 เพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุด 94.6 ปี พ.ศ. 2563 จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตชุดถ่ายเลือด (Blood transfusion set) และให้น้ำเกลือ (Intravenous solution) ซึ่งเพิ่มขึ้น +14.8๔ จากปีก่อน, เข็มฉีดยา (Syringe) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน +17.5%, และอุปกรณ์การแพทย์อื่นๆม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน +3.9% YoY อย่างไรก็ตาม การผลิตถุงมือยางทางการแพทย์หดตัว -8.2% จากปีก่อน เนื่องจากความต้องการที่ลดลง (Plummet) มากในตลาดต่างประเทศหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 คลี่คลาย ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิต (Manufacture capacity utilization) ของเครื่องมือแพทย์เฉลี่ยที่ 67.7% เพิ่มขึ้นจาก 60.7% ในปี พ.ศ. 2564
- มูลค่าจำหน่ายเครื่องมือแพทย์เติบโตชะลอลง จากการหดตัว (Shrinkage) ของตลาดส่งออก ดังนี้
- ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประเมินว่ามูลค่าจำหน่าย (Sales value) ของเครื่องมือแพทย์ในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 0 ถึง 3.0% ต่อปีจากการกลับมารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลใกล้เคียงระดับปกติ อัตราดังกล่าวยังต่ำกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ย +3.2% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563) จากข้อมูลของบริษัทวิจัยระดับสากล Fitch Solutions
- มูลค่าส่งออกเครื่องมือแพทย์ อยู่ที่ระดับ 2 แสนล้านบาท หดตัว -33.5% จากปี พ.ศ. 2564โดยหดตัวมากในตลาดหลัก (Major market) เช่น สหรัฐอเมริกา (-52.4% จากปีก่อน), ญี่ปุ่น (-22.1% จากปีก่อน), เนเธอร์แลนด์ (-13.3% จากปีก่อน), และเยอรมนี (-22.0% จากปีก่อน) โดยที่สัดส่วน (Proportion) รวมกัน 49.7% ของมูลค่าส่งออกเครื่องมือแพทย์ทั้งหมด ยกเว้นตลาดจีน (สัดส่วน 7.6%) ขยายตัว 6.8% จากปีก่อน
แหล่งข้อมูล –