4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 30
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 8 เมษายน 2567
- Tweet
ในขณะที่ครุภัณฑ์ทางการแพทย์และกลุ่มน้ำยาและชุดตรวจวินิจฉัยโรค ต้องใช้ความรู้เชิงเทคนิค (Technical know-how) และการรับรองคุณภาพ (Quality certification) ตามมาตรฐานสากล (International standard) อย่างไรก็ตาม ไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced) บางประเภทบ้างแล้ว
ตัวอย่างที่ดี คือ หุ่นยนต์ดินสอสำหรับดูแลผู้สูงอายุ และหุ่นยนต์ผ่าตัด เช่น หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic-assisted surgical system) สำหรับการเปิดแผลเล็ก (Minimally-Invasive surgery: MIS) ทั้งนี้ สามารถจำแนกประเภท (Classification) เครื่องมือแพทย์ตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ได้
1) กลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ จำนวนผู้ประกอบการ (Entrepreneur) คิดเป็นสัดส่วน 49.5% ของผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ทั้งหมด โดยผลิตภัณฑ์ที่ไทยมีศักยภาพ (Potential) การผลิต (Manufacture) สูงและแข่งขันได้ดี (Competitive) ในตลาดโลก คือ ถุงมือยาง/ถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical glove) เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตยางพารา (= Rubber ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต) รายใหญ่ของโลก ทั้งยังใช้เทคโนโลยีการผลิตไม่ซับซ้อน (Simple) ถุงมือยางที่ผลิตได้จึงเน้นตลาดส่งออก (Export) เป็นสัดส่วนสูงถึง 90.0% ของปริมาณการจำหน่ายทั้งหมด สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพการผลิตรองลงมา คือ หลอดสวนและหลอดฉีดยา (Injection) ซึ่งใช้พลาสติกที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (Petro-chemical) เป็นส่วนประกอบ (Component) สำคัญในการผลิต
2) กลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ผู้ประกอบการมีสัดส่วน 23.1% ของผู้ประกอบการทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและส่งออกส่วนใหญ่เป็นครุภัณฑ์ (Equipment) ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Patient transportation) เช่น เตียงผู้ป่วย (Patent bed), เตียงตรวจ (Examination bed) และรถเข็นผู้ป่วย (Wheel chair) นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์เครื่อง X-ray และเครื่อง MRI รวมถึงหุ่นยนต์ (Robotics) บางประเภท เช่น หุ่นยนต์ดินสอ และหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robot-assisted surgery)
แหล่งข้อมูล –