4.ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 29
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 25 มีนาคม 2567
- Tweet
สำหรับการนำเข้าไทยในเครื่องมือแพทย์ ส่วนมากอยู่ในทั้งกลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองและกลุ่มครุภัณฑ์ ซึ่งมีสัดส่วนรวมกัน 68.4% ของมูลค่าส่งออก+นำเข้าเครื่องมือแพทย์ทั้งหมด โดยที่ส่วนมากเป็นการนำเข้าจากจีน, สหรัฐอเมริกา, เยอรมนี, และญี่ปุ่น เช่น เครื่องอุลตราซาวน์ (Ultra-sound), เครื่องรังสีเอ็กซ์ (X-ray), เครื่องตรวจวัดคลื่นหัวใจ (Heart-rate monitor), เครื่องวินิจฉัยโรคด้วยไฟฟ้า (Electro-diagnosis), อุปกรณ์ทางจักษุตา (Ophthalmic) และอุปกรณ์วินิจฉัยหรือรักษาด้วยรังสี (Radio-therapy)
ผู้ผลิต (Manufacturer) เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ (Medical device and equipment) ที่จดทะเบียน (Register) กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Department of Business Development) มีจำนวน 1,068 ราย (ข้อมูลปี พ.ศ. 2565) ประมาณ 94.0% เป็นผู้ผลิตรายเล็กและรายย่อย (Small) ซึ่งมีส่วนแบ่งรายได้เพียง 4.8% ของรายได้ทั้งหมด
ส่วนที่เหลือ 6.0% เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ (Large) และรายกลาง (Medium-sized) มีส่วนแบ่งรายได้รวมกันถึง 95.2% โดยผู้ผลิตรายใหญ่มักเป็นบริษัทข้ามชาติ (Multinational company: MNC) ที่มีสำนักงานในประเทศ ด้านผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนำเข้าเครื่องมือแพทย์ (ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา [Food and Drug Administration: FDA]) มีจำนวนรวมกันมากกว่า 2,000 ราย
เครื่องมือแพทย์ที่ผลิตในไทย ส่วนมากมีความซับซ้อนทางนวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยีไม่สูงนัก เป็นการผลิตอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน (Basic equipment) ซึ่งเน้นใช้วัตถุดิบ (Raw material) ในประเทศเป็นหลัก อันได้แก่ ยาง (Rubber) และพลาสติก (Plastic) และมีสัดส่วนการผลิตเพื่อส่งออกประมาณ 70.0% เช่น ถุงมือยาง (Glove) และเข็มฉีดยา (Syringe) ซึ่งไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced)
แหล่งข้อมูล –
- https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/other-industries/medical-devices/io/medical-devices-2023-2025 [2024, March 24].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2024, March 24].