4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 21
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 4 ธันวาคม 2566
- Tweet
ตลาดเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ในกลุ่มอาเซียน (ASEAN = Association of South-East Asia Nations) ได้แก่ (ตามลำดับขนาดของรายได้) ประเทศไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, และฟิลิปปินส์
บริษัทนำเข้า (Import) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical equipment) จากผู้ผลิตชั้นนำของโลกคือ มักเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ให้แก่โรงเรียนแพทย์ (Medical school), โรงพยาบาลรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลรัฐในสังกัดทั้ง 3 เหล่าทัพ อันได้แก่ กองทัพบก, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ, และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นอกจากนี้ ยังมีโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan Administration: BMA), สถานพยาบาลของเอกชน (Private) เช่น โรงพยาบาลเอกชน, คลินิกเอกชน, รวมถึงจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป (General public) โดยที่โรงพยาบาลรัฐบาลถือเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก (Major customer) ที่มีการสั่งซื้อเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์
บริษัทนำที่ได้รับการยอมรับ (Well-accepted) ในวงการสาธารณสุข (Public health) ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง (Famous), มีคุณภาพสูง (High quality), และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับสากล (Internationally-known)
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มักเป็นการนำเข้า จากยี่ห้อ (Brand) ดังๆ โดยผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน (Standard) จากนานาประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา, เยอรมนี, ออสเตรเลีย, และสวิสเซอร์แลนด์ ตลอดจน น้องใหม่ล่าสุดที่แซงทางโค้งอย่างจีน
นอกจากการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพแล้ว ผู้นำเข้ารายใหญ่ๆ ยังให้ความสำคัญกับบริการหลังการขาย (After-sale service) เช่น การติดตั้ง (Installation) ผลิตภัณฑ์ และ การสาธิต (Demonstration) การใช้งาน ซึ่งเป็นจุดที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive advantage)
ตลอดจนการให้คำแนะนำ (Advice) และให้บริการดูแลรักษา (Maintenance) การใช้งานเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติหรือการซ่อมแซม (Repair) เมื่อเกิดความบกพร่อง (Deficiency) หรือเสื่อมถอย (Deterioration) จากการใช้งาน
จุดเด่นอีกอย่างของบริษัทนำเข้ารายใหญ่ๆ คือ บุคลากรที่มีประสบการณ์ (Experience) และความสามารถด้านการแพทย์ (Medical competency) ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับธุรกิจสุขภาพ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ (Expertise) ในผลิตภัณฑ์ที่บริษัทฯ จัดจำหน่ายและให้บริการ
อีกทั้งมีการติดตามการเปลี่ยนแปลง (Change) ของเทคโนโลยีทางการแพทย์อยู่เสมอ ทำให้ปรับตัว (Adjustment) ได้อย่างรวดเร็วตามแนวโน้มอุตสาหกรรม (Industry trend) ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทำให้สามารถตอบสนอง (Responsive) ตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
แหล่งข้อมูล –
- https://www.brandbuffet.in.th/2021/05/saint-med-medical-device-insight/ [2023, December 3].
- https://www.boi.go.th/upload/content/BOI-brochure_medical_hub.pdf [2023, December 3].