4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 12
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 31 กรกฎาคม 2566
- Tweet
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อันดับต้นๆ ของโลก โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไปและนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourist) มีสัดส่วนรวมกันถึง 80% ของผู้ป่วยต่างชาติทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเอเชีย, ยุโรป, และตะวันออกกลาง (Middle East) ตามลำดับ
ทั้งนี้การรักษาพยาบาลที่ชาวต่างชาตินิยมเข้ามารับบริการในไทย ได้แก่ การตรวจสุขภาพ (Physical check-up), ศัลยกรรมความ งาม (Cosmetic surgery), ทันตกรรม (Dental), ศัลยกรรมกระดูก (Orthopedic surgery), และผ่าตัดหัวใจ (Heart surgery) การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยต่างชาติ ช่วยหนุนให้ความต้องการอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ขั้นสูง ขยายตัวด้วย
ปี พ.ศ. 2563 ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย มีแนวโน้มเติบโตชะลอลง (Slow-down) ขณะที่ตลาดส่งออก (Export) จะเจริญเติบโตได้ดีตามความต้องการ (Demand) ที่เพิ่มขึ้น ส่วนปี พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2565 ผลประกอบการของธุรกิจ (Business performance) โดยรวมขยายตัวในเกณฑ์ดี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (Economic recovery)
ผลประกอบการของผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ เจริญเติบโตดี (ยกเว้นปี พ.ศ. 2563) และได้โอกาสทำกำไรอยย่างต่อเนื่อง แม้ภาวะการแข่งขันของธุรกิจจะรุนแรงขึ้น (Highly competitive) โดยรายได้ของผู้ผลิตที่จำหน่ายเครื่องมือแพทย์ผ่านสถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน เติบโตต่ออย่างเนื่องจากการสร้าง (Construction) โรงพยาบาลใหม่และขยายพื้นที่ (Expansion) ให้บริการ ผ่านการปรับปรุง (Renovation) อาคารสถานที่
ปัจจัยเหล่านี้ ส่งให้มีการลงทุน (Investment) ด้านเครื่องมือทางการแพทย์เพิ่มเติม ประกอบกับผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความสำคัญแก่การดูแลสุขภาพ (Health-consciousness) จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตที่มีศักยภาพ (Potential) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development) และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง (Related equipment) เข้ามารองรับความต้องการดังกล่าว
นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังมีโอกาสขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (Neighboring) โดยได้อานิสงส์จากแผนสนับสนุนการลงทุน (Investment support) ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เพื่อรองรับเป้าหมายการเป็นศูนย์การแพทย์ (Medical center) และการส่งออกเครื่องมือแพทย์ในภูมิภาค (Region)
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันของธุรกิจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น จากบริษัทข้ามชาติ (Multi-national company: MNC) ที่เข้ามาลงทุนในไทยและส่งกลับไปขายในประเทศของตน เช่น ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, และฝรั่งเศส ส่วนในด้านความเสี่ยง จะมาจากผู้ผลิตที่นำเข้าชิ้นส่วน (Parts) อุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งประสบต้นทุนสูงขึ้นจากการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (Financial hedging)
ผู้จำหน่ายเครื่องมือแพทย์ (ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้าส่ง (Whole-sale), ค้าปลีก (Retail), หรือผู้นำเข้ามาจำหน่าย (Importer) ต่างประสบรายได้ที่เติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Gradual growth) เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนมากเป็นวัสดุสิ้นเปลืองใช้แล้วทิ้ง (Disposable) ทำให้มีความต้องการใช้ (Usage) ในโรงพยาบาลและผู้ป่วยทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ
แต่การแข่งขันที่รุนแรงจากผู้จำหน่ายรายเล็กและกลาง (Small and medium-sized enterprise: SME) ซึ่งมีจำนวนมาก รวมถึงบริษัทตัวแทน (Representative) และร้านค้าเป็นบริษัทในเครือ (Net-work) ของผู้ผลิต ซึ่งมีช่องทางการจำหน่าย (Distribution) กว้างขวางกว่า ทำให้การเติบโตโดยรวมไม่สูงนัก
แหล่งข้อมูล –