4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 11
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 17 กรกฎาคม 2566
- Tweet
ในตลาดเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่มีศักยภาพ (Potential target) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับผู้สูงอายุ (Geriatric), วัสดุสิ้นเปลือง (Medical supply) ที่มีนวัตกรรม (Innovation), วัสดุฝัง (Implant) ในชิ้นส่วนของเครื่องวินิจฉัยทางไฟฟ้า (Electrical) และทางรังสี (Radiological)
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตส่วนมากต้องนำเข้าอุปกรณ์การผลิตจากต่างประเทศ จึงอาจเผชิญความเสี่ยง (Risk) จากความผันผวนของค่าเงินบาท (Currency fluctuation) และต้นทุนสินค้านำเข้าที่อาจเพิ่มขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นปัจจัยท้าทาย (Challenge) ในอนาคต ของธุรกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์
การใช้วัสดุอุปกรณ์การแพทย์แบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable) แม้จะมีข้อดีในด้านประสิทธิภาพ (Efficacy) ในการป้องกันเชื้อโรค แต่อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสภาพแวดล้อม (Environment) จากการเพิ่มขึ้นของขยะติดเชื้อ (Infected waste) ทางการแพทย์ ซึ่งแม้จะผ่านกระบวนการกำจัดเชื้อ (Disinfection) แล้ว แต่ตัววัสดุไม่สามารถย่อยสลาย (De-composable) ได้
ในประเทศพัฒนา (Developed) แล้ว เช่น อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ยังคงมีรายงานการเพิ่มขึ้นของขยะทางการแพทย์ ในขณะที่ในประเทศกำลังพัฒนา (Developing) เช่น จีนและอินเดีย รัฐบาลต่างเร่งออกมาตรการควบคุม (Control measure) การกำจัดขยะให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด รวมถึงสนับสนุนงานวิจัย (Research) นวัตกรรมเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ผลิต
การใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ (Bio-degradable) ถือเป็นแนวทางสำคัญในการลดมลภาวะ (Pollution) ทางสภาพแวดล้อมในอนาคต และเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณา (Consideration) นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical robot) จะช่วยลดการนำเข้าสินค้านวัตกรรมในระยะยาว
ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ดูแลสุขภาพ (Health-care), การฟื้นฟู (Rehabilitation), และบริการผู้ป่วยสูงอายุ (Elderly care) และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยเฉพาะทาง, หุ่นยนต์สนับสนุนการผ่าตัดขนาดเล็ก (Small incision), และระบบผลิตยาและบริหารจัดการยาอัตโนมัติ (Automatic drug producing and dispensing)
หากภาครัฐเร่งออกนโยบาย เพื่อผลักดันงานวิจัยทางการแพทย์ ให้เกิดเป็นสินค้าเชิงนวัตกรรม จะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออก, ลดการพึ่งพาการนำเข้า, และสามารถขยายตลาดอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ของไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน (Sustainable)
จำนวนผู้ป่วยต่างชาติมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นในปี พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2565 เนื่องจากไทยยังคงมีความได้เปรียบทั้งด้านคุณภาพการบริการ (Service quality) และมาตรฐาน (Standard) ในการรักษาพยาบาล ส่วนโรงพยาบาลของไทย ก็มีความก้าวหน้า (Advancement) และมีความพร้อมด้านศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง
ตัวอย่างเช่น การรักษาโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCD) เรื้อรัง อันได้แก่ โรคหัวใจ (Heart disease), โรคกระดูกและข้อ (Orthopedics), และโรคมะเร็ง (Cancer) ทั้งยังมีศูนย์ดูแลและบริบาลผู้ป่วยสูงอายุ ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขันในภูมิภาค (Region) นี้ เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย
แหล่งข้อมูล –