5. ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 39
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 29 สิงหาคม 2567
- Tweet
ยากล่อมประสาทเป็นยาที่ออกฤทธิ์กดประสาท (Sedative) ทำให้ร่างกายและจิตใจไม่ตื่นตัว (Alert) เสี่ยงต่อ (Expose) การเกิดอุบัติเหตุ (Accident) และอาจเกิดอาการติดยา (Addiction) ได้ ส่วนยาที่มีฤทธิ์ในการปรับระดับสารเคมี ในสมองให้เกิดความสมดุล (Balance) ไม่มีผลต่อการง่วงซึม และฤทธิ์กดประสาท
แต่คนส่วนมากมักเกิดความเข้าใจผิด คิดว่ายารักษาทุกชนิดมีฤทธิ์ต่อการกดประสาท จึงทำให้คนมองหาทางเลือกอื่นเพิ่มเติมในการลดความเครียด เพื่อป้องกันการเกิดโรคเครียด เช่น โรคซึมเศร้า (Depression), โรควิตกกังวล (Anxiety) เป็นต้น การรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยในการลดความเครียดเป็นอีกทางเลือก (Alternative) ในการลดความเครียด
ในท้องตลาดในปัจจุบันมีความหลากหลาย (Variety) ในผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ เช่น ชาสมุนไพร (Herbal tea) ที่ใช้กลิ่นหอม (Fragrant) ในการลดความเครียด, ผลิตภัณฑ์สารสกัด (Extract) จากกัญชา (Cannabis) ที่มีประโยชน์ต่อการลดความเครียด, และการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต (Mental health)
แต่ยังคงมีรายงานวิจัย (Research) ที่ระบุถึงผลเสียบางประการต่อผู้ป่วยบางโรค เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวล เป็นต้น กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary supplement) หรือเครื่องดื่มจากวิตามินและสารสกัดต่างๆ เช่น วิตามินบี, แมกนีเซียม (Magnesium), เมลาโทนิน (Melatonin), กาบา (GABA = Gamma-aminobutyric acid), และ แอล-ธีอะนีน (L-theanine) ที่มีส่วนช่วยในการนอนหลับ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลุ่มนี้ได้รับความนิยม (Popularity) เพิ่มมากขึ้น และมีการคาดการแนวโน้ม (Trend) การเติบโตอย่างมากจากรายงานของ Grand View Research [บริษัทวิจัยด้านการตลาดในสหรัฐอเมริกา] ที่ระบุว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุง (Nourish) สมองและผ่อนคลายความเครียด (Stress relief) มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องทั่วโลกไปอีก 5 ปีข้างหน้า ถึง 8% ต่อปี
ถึงเวลานั้น ตลาดจะมีมูลค่าถึง 13,380 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 468,300 ล้านล้านบาท) และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจคือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารสกัดสมุนไพร (Herbal extract) ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วจากช่วงปี พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2571 ถึง 9.2% ต่อปี
เนื่องจากความสนใจ (Interest) ในสมุนไพรของผู้บริโภค (Consumer) เพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) [National Bureau of Agricultural Commodities and Food Standards] พบว่า ในปี พ.ศ. 2562 สมุนไพรไทยมีมูลค่าทางการตลาด (Market value) ในประเทศที่สูงถึง 1.8 แสนล้านบาท
เหตุผลก็คือ สมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ (Health-care) รวมถึงรัฐบาลมีนโยบาย (Government policy) มีการส่งเสริม (Promote) การใช้สมุนไพร ภายใต้แผนแม่บท (Master plan) ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ.2564 ถึงแม้ว่าในช่วงสถานการณ์การระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 จะกระทบต่อตลาดสมุนไพรที่ปรับตัวลดลง (Decrease)
แต่ปัจจุบันกลับขยายตัว (Expand) อีกครั้ง โดยกลุ่มที่กระแสตอบรับดี (Favorable response) คือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทำให้มูลค่าการบริโภค (Consumption) ผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 4.56 หมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มการเติบโตของสมุนไพรไทยที่ดีในอนาคต
สาเหตุมาจากประชาชนให้ความสนใจนำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion), ป้องกันโรค (Prevention), และใช้รักษา (Curation) ควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน (Modern medicine) ในปัจจุบันมีสมุนไพรที่ช่วยในการรักษาโรควิตกกังวล, โรคซึมเศร้า, หรือช่วยบรรเทาความเครียดได้
แหล่งข้อมูล –