5. ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 38

งานวิจัยการตลาดต่อไปนี้ เป็นสารนิพนธ์ของ ณัฐกานต์ นาถพิริยรัตน์ ในเรื่องแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary supplement) ผ่อนคลายความเครียด (Stress relief) และช่วยในการนอนหลับ จากสารสกัดธรรมชาติ (Natural extract) และสมุนไพร (Herb) ไทย ภายใต้ยี่ห้อ “NATAMIND”

ในบทที่ 1 เป็นบทนำ ว่าด้วยความเป็นมาและแนวคิด (Concept) ธรกิจ กรมสุขภาพจิต (Mental Health Department), กระทรวงสาธารณสุข (Public Health Ministry) กล่าวในปี พ.ศ. 2563 ว่า ความเครียดเป็นสภาวะที่จะแสดงออก (Exhibit) มาเมื่อถูกกระตุ้น (Stimulated) จากสภาพแวดล้อม (Environment), สังคม (Society), ภาวะอารมณ์ (Emotion) และสภาพร่างกาย (Physical condition)

จากข้อมูลรายงานสุขภาพคนไทย ปี พ.ศ. 2564 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หรือ Thai Health พบว่า คนไทยมีความเครียดสูง ซึ่งนำไปสู่อัตราการฆ่าตัวตาย (Suicide) สำเร็จกว่า 5,000 คนในปี พ.ศ. 2563 ที่ประจวบเหมาะกับสถานการณ์แพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 อันส่งผลกระทบกับวิถีการใช้ชีวิต (Life-style) ของคนไทยอย่างรุนแรง

โดยเฉพาะวัยทำงาน (Working force) ที่ต้องทำงานอยู่ที่บ้าน (Work from home) ทำให้ขาดความสมดุล (Balance) ในการจัดการชีวิต (Life management) ส่วนตัว และการทำงาน นำไปสู่ความเครียดสะสม (Accumulation) และส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาว (Long-term impact)

กรมสุขภาพจิต ในปี พ.ศ. 2564 ได้มีการแนะนำ (Recommendation) วิธีการลดหรือคลายความเครียดง่ายๆ ด้วยตนเอง เช่น การออกกำลังกาย (Exercise) ที่ช่วยสร้างฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) จะช่วยให้รู้สึกมีความสุข (Happiness), การนั่งสมาธิ (Mindfulness), และการฝึกจิต (Meditation) เพื่อหันเหความสนใจ (Distract) จากสิงที่ทำให้เกิดความเครียด

ยิ่งไปกว่านั้น การจัดสรรเวลา (Time allocation) ในชีวิตประจำวัน ให้เกิดความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต อันจะส่งผลให้เกิดการพักผ่อนอย่างเพียงพอ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง หรือทำกิจกรรมบันเทิง (Entertainment) ที่ชอบ เพื่อให้สมองปลอดโปร่งปราศจาก (Lack) ความเครียด

การปรับเปลี่ยนความคิด คือ การปรับมุมมอง (Perspective) ของตนเองจากความเครียด โดยการหารากเหง้าของสาเหตุ (Root cause) ของความเครียด เพื่อหาวิธีการจัดการกับปัญหา จะทำให้ลดความเครียดได้รวดเร็ว (Rapid) มากขึ้น แต่ปัญหาที่สำคัญ สำหรับคนส่วนมาก คือ ไม่ได้มีความตระหนักถึง (Realize) ความผิดปกติ (Abnormal) ด้านอารมณ์ อย่างเช่นความเครียด

เมื่อไม่รู้ตัวจึงไม่มีการจัดการที่ถูกต้อง หรือเหมาะสมสำหรับตนเอง จนอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการทำงาน (Functioning) หรือ อารมณ์แปรปรวน (Mood swings) จนมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ (Relationship) หรือปัญหาด้านสุขภาพที่ตามมา (Consequence)

ดังนั้น จึงมักทราบสาเหตุในภายหลังว่า เกิดจากปัญหาด้านความเครียด ส่วนการรักษาโรคเครียดทางการแพทย์แผนปัจจุบัน (Modern medicine) มักมีการใช้ยาในการรักษา โดยมียารักษาหลากหลายกลุ่ม เช่น ยาไดอะซีแพม (Diazepam) ซึ่งเป็นยากล่อมประสาท จะออกฤทธิ์ที่สมองและระบบประสาท

ผลลัพธ์ (Outcome) คือทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ทั้งสมอง, อารมณ์, และร่างกาย แต่การรักษาด้วยยากลุ่มนี้ อาจเกิดผลข้างเคียง (Side effect) ได้ 

แหล่งข้อมูล

  1. chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4712/1/TP%20FB.002%202565.pdf [2024, August 14].
  2. https://www.facebook.com/marketeeronline/posts/ตลาดยาและเสริมอาหาร/688529656725061/ [2024, August 14].