5. ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 35

ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 35

ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ

4 กรกฎาคม 2567

ตลาดใหญ่ที่สุดของอาหารเสริม (Food supplement) คือ รุงเทพฯ และปริมณฑล (Bangkok Metropolis) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน (Proportion) 33% ของตลาดรวม

ตลาดรองลงมาจะเป็นภาคกลาง, ภาคอีสาน, และภาคเหนือ Kantar (บริษัทวิจัยตลาดระดับสากล) ยังรายงานด้วยว่า ยอดขายอาหารเสริมมีการเติบโตขึ้น (Growth) ในทุกภาคของไทย ยกเว้น “ภาคใต้” ที่พบการหดตัวลง (Shrinkage)

ส่วนกลุ่มผู้ซื้อในกรุงเทพฯ และปริมณฑล กลุ่มใหญ่ที่สุดของอาหารเสริม คือ วัย 35 ปีขึ้นไป มีการซื้อครอบคลุม (Cover) ทุกระดับรายได้ (Income) และมักจะเป็นครัวเรือน (Household) ที่ไม่มีทารก กล่าวคือ สมาชิกในครอบครัว (Family members) มีอายุตั้งแต่ 13+ ปีขึ้นไป

ที่น่าสนใจคือ กลุ่มผู้ซื้อวัย 50+ ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่เติบโตแรงที่สุดในปีที่ผ่านมา โดยเติบโตถึง 60% ในแง่รูปแบบหลัก (Primary form) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ขายดีที่สุด จะเป็น “แบบผง” (Powder) ยังคงมีสัดส่วน (Proportion) ในตลาดสูงสุด ซึ่งเกิดจากอาหารเสริมทุกคุณสมบัติ (Property) สามารถผลิตเป็นรูปแบบผงได้

นอกจากนี้ ยังสามารถผลิตแบ่งย่อย เป็นขนาดบรรจุภัณฑ์แบบซองเล็ก (Sachet) เพื่อบริโภคครั้งเดียวได้ เมื่อนำไปทำการตลาดจึงสามารถขายได้ (Salable) ง่ายขึ้นด้วยราคาต่อหน่วย (Unit price) ที่ถูกกว่า ดึงดูด (Attract) ผู้บริโภคหน้าใหม่ให้เข้ามาทดลอง (Trial) 

ส่วนรูปแบบรองลงมา (Secondary form) อันเป็นที่นิยมไม่น้อย (Popular) ได้แก่ “แบบเม็ด” (Tablet) และ “แบบแคปซูล” (Capsule) ซึ่งพกพา (Portable) สะดวกไม่แพ้กัน แต่ในขณะที่ “แบบน้ำ” (Liquid) จะไม่นิยม (Unpopular) ในประไทย เพราะพกพาลำบาก

ตลาด “อาหารเสริม” นั้นเติบโตได้ดีมาก เคยมีการประเมินไว้เมื่อปี พ.ศ. 2565 ว่า ตลาดอาหารเสริมและวิตามินในไทยมีมูลค่ากว่า 64,000 ล้านบาท และเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งทำให้ทำให้ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) จำนวนไม่น้อย เข้ามาลุยธุรกิจ อาหารเสริมมากขึ้น

Statista (บริษัทวิจัยการตลาดระดับสากล ที่เป็นเจ้าแห่งการเก็บสถิติในนานาอุตสาหกรรม) รายงานว่า ในปี ค.ศ. 2023 มูลค่าตลาดวิตามินและอาหารเสริมในประเทศไทยประเมินว่ามีประมาณ 87 พันล้านบาท นั้นแสดงให้เห็นถึงการลดลงประมาณ 8% จากปีก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน Statista แสดงข้อมูลว่า ผู้บริโภคในประเทศไทยมีความสนใจมากขึ้นในการใช้อาหารเสริมเพื่อปรับปรุงสุขภาพ (Health improvement) ของตนเองและครอบครัว ซึ่งจะนำไปสู่การขยายตัวของกลุ่มธุรกิจอาหารเสริมในประเทศไทยต่อไป

ในอีกมิติหนึ่ง Statista ยังแสดงถึงนิสัย (Habit) การดูแลสุขภาพของผู้ใช้ (User) และผู้ไม่ใช้ (Non-user) อาหารเสริมในกลุ่มผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา สถิตินี้เป็นผลมาจากการสำรวจ (Survey) ที่ดำเนินการในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 2023 แล้วตีพิมพ์ตัวเลข พร้อมการตีความ (Interpretation)

ตามสำรวจพบว่า 58% ของผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารเสริม จะออกกำลังกาย (Physical activity) อย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ผู้รับประทานอาหารเสริม 72% จะออกกำลังกาย ในอุตสาหกรรมอาหารเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอาหารเสริมโปรตีนและวิตามินได้ ได้เห็นการเติบโตอย่างมาก

แหล่งข้อมูล

  1. https://positioningmag.com/1428778 [2024, July 3].
  2. https://www.statista.com/statistics/1294538/thailand-vitamin-and-supplement-market-value/ [2024, May July 3].