5. ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 29

McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาระดับสากล ได้แนะนำ 3 แนวทาง (Guide-ling) ที่ช่วยให้การนอนหลับดี กล่าวคือ

  1. สร้างบรรยากาศ (Atmosphere) ห้องนอนให้ผ่อนคลาย (Relax) โดยปรับเปลี่ยนห้องนอนและเครื่องนอนที่มีคุณภาพ เช่น เตียง, ฟูก (Mattress), หมอน (Pillow), และชุดนอน (Pajamas) จะช่วยให้การนอนหลับสบายตลอดคืน
  2. ปรับเปลี่ยนกิจวัตร (Routine) ก่อนนอน เช่น ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ, อ่านหนังสือ, หรือนั่งสมาธิ (Meditation) นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (Health) ที่ช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้า หรืออุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart device) เพื่อติดตาม (Monitor) คุณภาพ (Quality) การนอน และ
  3. บำบัดด้วยการแพทย์ (Medical therapy) คือ การรับประทานยาที่มีส่วนผสม (Mixture) ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

ผู้อํานวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สำหรับ “ตลาดของคนนอนไม่หลับ” (Insomnia market) ในประเทศไทย เดิมอยู่ในกลุ่มผู้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันขยายตัวไปสู่กลุ่มคนทำงาน (Work-force) และวัยรุ่น (Teen-age) เช่นเดียวกับทิศทางของโลก (Global direction) โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงาน ช่วงอายุ 18 ถึง 40 ปี ที่กำลังประสบปัญหานอนไม่หลับ หรือนอนหลับอย่างปราศจากคุณภาพ

ดังนั้น จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจ (Business opportunity) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการนอนหลับ (Sleep aid) และเป็นตลาดที่น่าจับตามองสำหรับผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ไทย โดยสามารถนำผลิตภัณฑ์ของไทย เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล (Personal care) เช่น ครีมที่มีกลิ่น (Scent) และส่วนผสมช่วยให้ผ่อนคลาย

ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food supplement) หรือเครื่องดื่ม (Beverage) และสารสกัด (Extract) ต่างๆ เช่น วิตามินบี, แมกนีเซียม (Magnesium), เมลาโทนิน (Melatonin), กาบา (Gaba), และแอลธีอะนีน (L-theanine) นำมาผสมผสานกับสมุนไพร (Herb) ไทยที่มีสรรพคุณ (Property) ช่วยในการนอนหลับ

นอกจากนี้ ยังให้มีรสชาติ (Flavor) และกลิ่น (Fragrance) ที่แปลกใหม่ เช่น ใบบัวบก (Centella asiatica), ขิง (Ginger), มะนาว (Lime), มะลิ (Jasmine), ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculate) และมะเฟือง (Star apple) ส่วนฟักทอง (Pumkin) มีสารเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) ช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine: NE) ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า

สุดท้าย ยังมีสมุนไพรที่ช่วยในการรักษาอาการวิตกกังวล (Anxiety), โรคซึมเศร้า (Depression), หรือบรรเทา (Relieve) ความเครียด เช่น สารสกัดจากใบชาและใบบัวบก ที่มีสารแอลธีอะนีน ใช้เป็นยาในศาสตร์อายุรเวท (Ayurveda) และการแพทย์แผนจีน (Chinese medicine) โดยเฉพาะ น้ำมันรำข้าว (Rice bran oil) และจมูกข้าว (Embryo)

จากผลการศึกษาทางคลินิก (Clinical study) ครั้งหนึ่ง ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในระยะเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าสารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) ในรากเหง้าขมิ้นชัน (Turmeric) มีสรรพคุณช่วยลดความเครียดได้ 62.5% ของจำนวนผู้รับการทดสอบ (Subject) ในการศึกษาดังกล่าว

แหล่งข้อมูล

  1. https://mgronline.com/business/detail/9660000081167 [2024, March 25].
  2. https://www.grandviewresearch.com/services/market-research-reports [2024, March 25].