6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 49
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 17 มกราคม 2568
- Tweet
2. การพัฒนาด้านวิชาการและองค์ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ – ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้จัดการธุรกิจ, ผู้จัดการฝ่ายขาย, พนักงานขาย, ผู้เชี่ยวชาญ, และช่างบริการ โดยในวัตถุประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human-resource development) ด้านนี้ ก็เพื่อให้มีความเข้าใจ (Understanding) ถึงผลิตภัณฑ์ที่ตนเองต้องดูแลรับผิดชอบ, รู้ถึงข้อบ่งใช้ ข้อดีข้อด้อยของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการให้บริการของทีมที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ, และอาจยังสามารถส่งเสริมโอกาสในการดำเนินธุรกิจในอนาคตของส่วนงานขายอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น การประยุกต์ใช้ (Apply) ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้ในงานทางด้านอื่น นอกเหนือจากงานตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในปัจจุบัน เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาทางด้านวิชาการ (Academic) นี้ได้แก่ การจัดอบรม (Training) ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์, การแจ้งข่าวสาร (Information) ผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์นี้, การประชุมระหว่างประเทศ (International conference) เกี่ยวกับการให้บริการ
นอกจากนี้ ยังวิธีการแก้ไขปัญหา (Problem-solving) ที่อาจจะเกิดขึ้น และ ข้อมูลข่าวสารภายในตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และคู่แข่ง (Competitor) ที่พบในตลาด เป็นต้น โดยหัวข้อในการอบมได้แก่ความรู้ผลิตภัณฑ์ (Product knowledge), การบริหารผลิตภัณฑ์ (Product management), และ ระบบบการบริการ (System services)
การจัดการความเสี่ยง และแนวทางรองรับความเสี่ยง
- การระบุความเสี่ยงที่คาดว่าจะมีในการดำเนินธุรกิจ (Risk identification)
- การวิเคราะห์ความรุนแรง ผลกระทบของความเสี่ยง (Risk impact analysis)
- การจัดทำแนวทางป้องกัน หรือลดผลกระทบของความเสี่ยง (Risk mitigation)
ก่อนการดำเนินธุรกิจ ผู้วิจัยได้ประเมิน (Assess) และระบุ (Identify) ถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ด้วยแผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) และแบ่งส่วนประกอบ (Component) ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจซึ่งมี 4 ระบบย่อย (Sub-systems) มีส่วนประกอบ ได้แก่
-
- บุคลากร (Man) หมายถึง พนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องและมีส่วนร่วม (Participation) ในการขับเคลื่อน (การดำเนินธุรกิจ อันได้แก่พนักงานขายผู้เชี่ยวชาญ (Sales specialist) และ เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสาร (Documentation) เป็น ต้น
- เงิน (Money) หมายถึง ตัวเงินที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ, ปริมาณเงินหมุนเวียน (Circulation), การจ่ายเงินเดือน (Payroll), ค่าจ้างพนักงาน (Wage), เงินที่ใช้ซื้อสินค้ามาจำหน่าย ฯลฯ
- วัตถุดิบ (Material) หมายถึง วัสดุที่ใช้ในการสร้างยอดขายและรายได้ (Sales revenue) ให้แก่ธุรกิจ โดยในที่นี้คือ เครื่องมือตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ (Automatic analyzer) ที่จะจำหน่าย
- วิธีการ (Method) หมายถึง วิธีการ (Approach) ในการดำเนินธุรกิจ, วิธีการปฏิบัติงาน (Procedure), การวางแผนดำเนินธุรกิจการควบคุม (Control), การดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นต้น
แหล่งข้อมูล –
- https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2025, January 16].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2025, January 16].