6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 48

การดำเนินงานในส่วนการให้บริการหลังการขาย 

เมื่อลูกค้ามีการใช้งานเครื่องมือ (Equipment) หรือมีการใช้น้ำยา (Reagent) ในการตรวจวิเคราะห์ (Diagnosis) ทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ของทางบริษัท อาจเกิดข้อสงสัย (Doubt) เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์, น้ำยา, หรือเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ (Analyzer) ซึ่งรวมถึงการให้บริการแก้ไข, การบำรุงรักษาเครื่องมือตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ, ให้ดีและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้กำหนดให้มีแผนการดำเนินการ (Operations) ในส่วนการให้บริการหลังการขาย (After-sales service) โดยไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน (Complicated) หรือมีลักษณะเฉพาะกรณี (Specific case) ที่ยากแก่การกำหนดให้มีแผนการดำเนินการที่ตายตัว (Rigid) อันได้แก่

  • การจัดอบรมข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าแก่ทีมงาน ในขั้นตอนการจัดอบรมดังกล่าว จะดำเนินการโดยการติดต่อผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ของบริษัทฯ จากต่างประเทศที่ได้รับการฝึกอบรม (Training) และเป็นผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ เพื่อเดินทางมาเพื่อจัดฝึกอบรมดังกล่าว ให้แก่บุคลากรภายในประเทศไทย ที่จะต้องรับผิดชอบในการดาเนินธุรกิจดังกล่าว อันได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ (Specialist), พนักงานขาย (Sales), และช่างผู้บำรุงรักษา (Maintenance technician) เครื่องมือตรวจวิเคราะห์
  • การเสนอขายแก่ลูกค้าและปิดการขาย ขั้นตอนนี้ จะดำเนินการโดยทีมขายของบริษัทฯ โดยจะเข้าพบลูกค้าเป้าหมาย (Target customer) จากข้อมูลในบทการตลาด ซึ่งอาจเข้าพบผู้ที่มีอานาจ (Authority) ตัดสินใจสั่งซื้อ การนัดเข้านำเสนอ (Presentation) ข้อมูลสินค้าแก่บุคลากรภายในห้องปฏิบัติการ การเข้าพบเพื่อเสนอคุณลักษณะ (Feature) เฉพาะของเครื่องมือ, การเปรียบเทียบ (Comparison) ข้อดีข้อด้อยของสินค้า, การทดลองใช้สินค้า (Product trial), การทดสอบประสิทธิผล (Effectiveness testing), การเสนอและต่อรองราคา (Price negotiation), ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อ (Procurement process), การสอบราคา (Price tender) ฯลฯ อันอาจเป็นไปตามรูปแบบลักษณะองค์กร (Organizational characteristics) ของลูกค้าในเฉพาะราย โดยคาดว่ากระบวนการดังกล่าว จะเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาประมาณ 2 เดือน 

แผนพัฒนาบุคลากร

ในแผนการพัฒนาบุคลากรของทางบริษัทฯ อาจแบ่งได้ตามหน้าที่การปฏิบัติการออกเป็น 2 ส่วนคือ

  1. การพัฒนาด้านการตลาดและการขาย – ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้จัดการธุรกิจ, ผู้จัดการฝ่ายขาย, พนักงานขาย, และผู้เชี่ยวชาญ ในการพัฒนาด้านการตลาดและการขายนั้น จะได้มีแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคลล (Human resource development) โดยการจัดประชุมสัมมนา และ อบรมทักษะความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เช่น หลักการ (Principle) สำหรับพนักงานขายที่ดี, หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility) ของฝ่ายขาย, ขั้นตอนและการเทคนิคการเป็นพนักงานขายแบบมืออาชีพ (Professional sales representative), การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship building) อันดีระหว่างองค์กรและลูกค้า เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการอบรมที่จะช่วยส่งเสริมให้ฝ่ายขายมีศักยภาพ (Potential) มากขึ้น และสามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่ทางบริษัทฯ ตั้งไว้ร่วมกัน โดยหัวข้อในการอบรมที่เกี่ยวข้องได้แก่ Professional selling skill, Consultative selling skill, Objection handling, และ Customer relationship management 

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2025, January 2].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2025, January 2].