6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 47
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 20 ธันวาคม 2567
- Tweet
ปัญหาด้านการติดตามสถานการณ์ (Situation) ส่งสินค้าถึงที่หมาย (Destination) โดยมีสาเหตุสืบเนื่องหลังจากได้ขนสินค้าขึ้น (Upload) พาหนะขนส่งแล้ว จะไม่มีระบบในการประเมิน (Assess) ระยะเวลาที่จะใช้
การขนส่งถึงที่หมาย หรือระยะเวลาประมาณ (Estimate) ที่จะจัดส่ง และเป็นเพียงการประเมินโดยอาศัยประสบการณ์ (Experience) ของผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น ทำให้เมื่อถูกร้องขอให้ตรวจสอบสถานะ (Status) การจัดส่งสินค้าจากลูกค้า จะต้องโทรตาม(Follow-up call) รถขนส่งสินค้า เกิดความล่าช้า (Delay) ในการให้บริการแก่ลูกค้า และไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ในกรณีเร่งด่วน (Urgent)
เมื่อได้วิเคราะห์ (Analyze) ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้วิจัยเห็นว่า การนำระบบบริหารสารสนเทศ (Information management) มาใช้ในระบบการปฏิบัติงาน (Operations) ในส่วนนี้ จะสามารถช่วยแก้ไข (Solve) ปัญหา (Problem) ได้ จึงได้ออกแบบ (Design) แนวทาง (Guideline) และวิธีทางการแก้ไขปัญหาตามสาเหตุข้างต้นไว้ ดังนี้
การส่งสินค้าผิดรายการ (Transaction), ผิดสถานที่ (Destination), ลูกค้าผิดราย, หรือรายละเอียดด้านราคา (Pricing detail)ผิดพลาด เมื่อนาระบบสารสนเทศ (Information system) มาใช้งาน ผู้ปฏิบัติงานจะไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลโดยการพิมพ์ข้อมูลเข้า (Data entry) หรือกรอกด้วยมือเอง (Manual)
แต่จะทำผ่านการเลือกข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบ หรือที่เรียกว่า Drop Down List ซึ่งจะเชื่อมต่อฐานข้อมูล (Data base) ด้านรายชื่อลูกค้า (Customer list), ราคา, สถานที่จัดส่ง, รายละเอียดเพิ่มเติม (Additional) ของลูกค้าแต่ละราย ทำให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้อง (Accurate), สะดวก (Convenient) และรวดเร็ว (Rapid) ยิ่งขึ้น
- การติดต่อประสานงานผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถส่งสินค้าถึงลูกค้าได้ภายในกำหนด (Time requirement) ดังนั้นการนำระบบสารสนเทศมาใช้งาน จะช่วยป้องกัน (Prevent) ปัญหานี้ โดยเมื่อหลังจากกรอกข้อมูลคาสั่งของลูกค้าเข้าสู่ระบบแล้ว ระบบจะส่งงาน (Transmit) ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ (Automatic) และมีการแจ้งเตือนความจำ (Remind) หากยังมิได้ดำเนินการ หรือยังมีงานค้างอยู่ (Outstanding) สาหรับแต่ละส่วนงานเพื่อเตือนความจำอีกด้วย
- การติดตามสถานการณ์จัดส่งสินค้าถึงที่หมาย การนำระบบสารสนเทศมาใช้ จะช่วยประเมิน (Evaluate) และกำหนดเส้นทางการขนส่ง (Transportation route), ระยะเวลาประมาณการที่จะถึงที่หมาย และสำหรับการติดตามสถานการณ์ขนส่ง ระบบจะสามารถช่วยระบุตำแหน่ง (Location) ของรถขนส่ง รวมถึงหากได้มีการจัดส่งสินค้าแล้ว ผู้ปฏิบัติงานขนส่งจะต้องบันทึก (Record) สถานะ (Status) การจัดส่งสินค้า ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าไปตรวจสอบ (Verify) สถานะได้ ทำให้ตอบสนอง (Respond) และติดตามสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ดี และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ผู้วิจัยคาดหวังว่า เมื่อได้พัฒนาระบบและนำเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน (Implement) จะช่วยลดปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
แหล่งข้อมูล –
- https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2024, December 19].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2024, December 19].