6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 40

    • การใช้ระบบรหัสแท่ง (Barcode) ในการตรวจสอบความถูกต้อง (Verify) ของตัวอย่าง (Specimen) และน้ายาตรวจวิเคราะห์ (Reagent) ในการกรอก (Fill in) ข้อมูลเพื่อกำหนด, สั่ง (Order) งานเครื่องมือ, หรือการตรวจสอบความถูกต้องก่อนตรวจวิเคราะห์โดยเครื่องมือ ระบบจะมีการตรวจสอบโดยผ่านระบบระหัสแท่ง หรือผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูล โดยการใช้เพียงการสแกนรหัสแท่งที่ชุดน้ำยา หรืออุปกรณ์ที่จะใช้ในการทดสอบเท่านั้น เพื่อลดเวลาในการปฏิบัติงานและป้องกันความผิดพลาด (Error) จากการกรอกข้อมูลผิดพลาด
    • การเป็นระบบเปิด (Open system) สำหรับการใช้งาน หรือการตรวจวิเคราะห์ประเภทอื่น เนื่องด้วยการตรวจวิเคราะห์ในปัจจุบันมีความต้องการที่หลากหลาย บริษัทผลิตน้ำยา หรือชุดทดสอบ (Test kit) ไม่สามารถผลิตได้ทันและตรงตามความต้องการ (Demand) ของผู้ใช้ ดังนั้นเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ บริษัทจึงได้มีการออกแบบระบบเปิด คือ การอนุญาตให้ผู้ใช้ (User) สั่งการให้เครื่องมือทาการตรวจวิเคราะห์โดยใช้ชุดน้ำยาที่ผู้ใช้ผลิตหรือพัฒนาขึ้นเอง (Self-developed) ได้อีกด้วย ทำให้เพิ่มความยืดหยุ่น (Flexibility) และศักยภาพ (Potential) ในการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการได้เป็นอย่างดี และทำให้ตรงกับ (Meet) ความต้องการของผู้ใช้ได้มากที่สุดอีกด้วย
  • ด้านการสนับสนุนในการเริ่มต้น และระหว่างใช้งานผลิตภัณฑ์
    • การให้การสนับสนุนในช่วงเริ่มต้น (Initial) ก่อนการใช้งานผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกค้ายังไม่มีความชำนาญ (Inexperienced) หรือยังไม่มีความคุ้นเคย (Accustomed) ในการใช้งานเครื่องมือ และยังไม่แน่ใจถึงประสิทธิผล (Effectiveness) ของการตรวจวิเคราะห์ผ่านเครื่องตรวจวิเคราะห์นี้ จึงได้ออกแบบให้มีการบริการในด้านการจัดอบรม (Training) การใช้งานเครื่องมือ การออกแบบ (Design) วิธีการทดสอบหรือเปรียบเทียบ (Benchmark) ประสิทธิผลของเครื่องมือ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ (Confidence) ในการใช้งานเครื่องมือในอนาคต พร้อมทั้งยังสามารถทำความเข้าใจ และตอบสนอง (Respond) ความต้องการของลูกค้าที่อาจแตกต่างกัน (Different) ได้ในแต่ละแห่ง นอกจากนี้ยังได้มีการวางแผนการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ในการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถเปิดดำเนินการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวให้สะดวก (Convenient) และรวดเร็ว (Rapid) มาก
    • การให้การสนับสนุนระหว่าง (During) การใช้งานผลิตภัณฑ์หลังจากเมื่อทางห้องปฏิบัติการได้มีการเริ่มใช้งานผลิตภัณฑ์แล้ว จำต้องมีการบริหารงานบริการ (Service management) และติดตามผล (Monitor) การใช้งานเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือเอกสาร (Information) เพิ่มเติมที่จำเป็นต่อการปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ การบำรุงรักษา (Maintenance) เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ และการวางแผนการให้บริการในกรณีเกิดข้อขัดข้อง (Crash) ในการใช้งาน
    • การให้บริการด้านอื่นๆ เช่น การตลาดทำของสินค้าเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทางด้านการแพทย์นั้น นอกจากคุณภาพ (Quality) และประสิทธิผลของสินค้าแล้ว ยังจำเป็นต้องมีการบริหารงานทางด้านการนำเสนอข้อมูลทางการตรวจวิเคราะห์ หรือข้อมูลทางวิชาการ (Academic) ใหม่ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงการตรวจวิเคราะห์และเทคโนโลยีใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น ทางบริษัทจะดำเนินการให้มีการเข้านาเสนอข้อมูลดังกล่าวให้กับลูกค้าอยู่เสมอ ผ่านช่องทางการติดต่อ (Communication channel) ไม่ว่าจะเป็น การเข้าพบทั่วไป, การเข้าจัดการบรรยาย, การจัดเข้าอบรบให้ความรู้, อย่างสม่ำเสมออีกด้วย

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2024, August 29].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2024, August 29].