6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 39

  1. กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์/บริการ (Product/services) - เนื่องจากสินค้านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการออกแบบ (Design) และผลิตมาแล้ว ดังนั้น อาจจะทำการเน้นทางด้านจุดเด่น (Outstanding) ของผลิตภัณฑ์ และการออกแบบการให้บริการที่จะนำมาประกอบการทำแผนการตลาด ตามลำดับ ดังนี้
    • ด้านคุณสมบัติของสินค้า

เอกสารแสดงคุณลักษณะของสินค้า ตอกย้ำ (Emphasize) จุดเด่นของสินค้าเครื่องมือตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ ได้มีการออกแบบมาให้ใช้งานสะดวก (Convenience) ใช้งานได้ในหลากหลายรูปแบบ (Variety) และเป็นมิตรแก่ผู้ใช้งาน (User friendly)

      • การตรวจวิเคราะห์แบบอัตโนมัติสมบูรณ์แบบ (Fully-automated system) เป็นเครื่องมือที่ผู้ใช้งาน ไม่จำเป็นต้องเข้าไปร่วมดำเนินการ (Process) ตรวจวิเคราะห์จนได้ผลการตรวจวิเคราะห์ โดยเครื่องมือนี้ จะดำเนินการทุกขั้นตอน (Step) และได้ผลการทดสอบโดยการสั่งการ (Order) เพียงครั้งเดียว
      • การดำเนินการและเตรียมการ (Preparation) เพียง 1.5 นาทีต่อตัวอย่าง (Specimen) เท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมืออัตโนมัติแบบอื่น ที่จำเป็นต้องดำเนินการโดยใช้เวลานานมาก (Time-consuming)
      • การออกแบบตัวเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ ให้มีขนาดเล็ก สามารถติดตั้ง (Install) ได้บนโต๊ะห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปได้ และสามารถติดตั้งและดำเนินการตรวจวิเคราะห์ได้ในห้องปฏิบัติการโดยไม่จำเป็นต้องมีห้องแยกพิเศษ (Compartment) เนื่องจากมีประตูปิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อน (Contamination) ของสารภายนอก (External) ที่อาจเข้ามารบกวน (Disrupt) ทำให้ผลการทดสอบผิดพลาด (Error) ได้
      • ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer system) ที่ใช้ในการควบคุมและสั่งการเครื่องมือ, การออกแบบระบบควบคุม (Control) ของเครื่อง, การใช้คอมพิวเตอร์แบบหน้าจอสัมผัส (Touch screen) พร้อมเมาส์ (Mouse), คีย์บอร์ด (Keyboard), และเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode scanner) ออกแบบหน้าจอโปรแกรม ในการสั่งการให้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับระบบ Windows, การใช้รายการ (Menu) ภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และสามารถสั่งการได้ง่ายเพียงสัมผัสหน้าจอ อีกทั้งยังสามารถดูผลการทดสอบผ่านทางหน้าจอได้ทันที (Real time) เมื่อทำการทดสอบเสร็จสิ้น อีกทั้งระบบคอมพิวเตอร์นี้ ยังได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับ (Support) การเชื่อมต่อ (Interface) เพื่อใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล (Data transmission) ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ของทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory information system: LIS) ที่ใช้อยู่ได้
      • การออกแบบน้ำยา (Reagent) และส่วนประกอบที่ใช้ครั้งเดียว (Disposable component) จากเดิมการปฏิบัติการโดยวิธีการตรวจวิเคราะห์ RT-PCR จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ และน้ำายาหลายชนิด ทำให้การเตรียม (Preparation) การยุ่งยากและป้องกันการปนเปื้อน (Contamination) ได้ยาก ดังนั้นบริษัทจึงได้ออกแบบให้น้ำยาและส่วนประกอบทั้งหมดที่จำเป็นให้อยู่ในรูปแบบ Unitized Reagent Strip (URS) กล่าวคือ ให้ทุกอย่างรวมอยู่ในชุด (Set) เดียวกัน จึงหยิบใช้ได้สะดวก (Convenience) ทั้งยังสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากวิธีการเตรียมที่ยุ่งยากอีกด้วย และในชุดน้ำยาและอุปกรณ์ของบริษัทยัง ได้มีการติดรหัสแท่ง (Barcode) เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการป้องกันการผิดพลาดและสะดวกในการใช้งานแก่ผู้ใช้ด้วย

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2024, August 29].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2024, August 29].