6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 38

ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Target customers) นั้น จากการสำรวจ (Survey) และการแบ่งส่วนตลาด (Market segmentation) ในกลุ่มห้องปฏิบัติการทั่วประเทศ พบว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ โดยมีการตรวจวิเคราะห์พิเศษ (Specialty testing) นอกเหนือจากการตรวจวิเคราะห์ปรกติประจำวัน (Routine) น่าจะตรงกับกลุ่มลูกค้า 2 ประเภท อันได้แก่

  • ห้องปฏิบัติการภายใน (Internal) โรงพยาบาลขนาดใหญ่ (Major hospital) หรือสถานพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ (Medical school) เนื่องจากเป็นห้องปฏิบัติการที่มีปริมาณงาน (Quantity) ต่อวันจำนวนมาก อีกทั้งยังต้องการการตรวจวิเคราะห์ที่มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) และมีประสิทธิผล (Effective) สูงกว่าการตรวจวิเคราะห์พื้นฐาน (Fundamental) แต่ในปัจจุบัน การตรวจวิเคราะห์โดยวิธีการขั้นสูง (Advanced) มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก (Complicated), ใช้เวลานาน (Time-consuming), และสิ้นเปลืองแรงงานคน (Labor intensive) ในการปฏิบัติการมาก หากมีเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ที่วิธีการตรวจวิเคราะห์ขั้นสูง พร้อมทั้งมีรูปแบบการดำเนินงานแบบอัตโนมัติทั้งหมด (Fully-automated) น่าจะตอบสนอง (Responsive) รูปแบบการปฏิบัติการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
  • ห้องปฏิบัติการภายนอก (External) โรงพยาบาลของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยลักษณะของห้องปฏิบัติการประเภทนี้แล้ว เป็นห้องปฏิบัติการที่มักจะเลือกเปิดการทดสอบพิเศษ (Special testing) ที่ห้องปฏิบัติการปรกติมิได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์อยู่แล้ว และมักเน้นในเรื่องผลิตภาพ (Productivity) กล่าวคือ ลดแรงงานคนแต่ได้ผลการตรวจวิเคราะห์มากและรวดเร็ว (Rapid) ดังนั้นสินค้าของทางบริษัทน่าจะสามารถตอบสนองความต้องการในส่วนเหล่านี้ได้ แต่อาจจำเป็นต้องคำนึงถึงด้านต้นทุน (Cost) ราคาขาย เนื่องจากเป็นประเด็น (Issue) ที่ห้องปฏิบัติการประเภทนี้คำนึงถึงอย่างยิ่งเช่นกัน

ส่วนการวางตำแหน่ง (Positioning) ผลิตภัณฑ์ในใจลูกค้า โดยใช้ภาพมุมมอง (Perceptual map) และการกำหนดแกน (Axis) ทั้ง 2 ดังนี้

  • แนวแกนตั้ง (Vertical) กำหนดให้เป็นการรองรับนำยาระบบเปิด (Open system) และความเป็นระบบอัตโนมัติ (Automated) เนื่องจากในการสำรวจพบว่า ลูกค้าต้องการเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย (Multi-purpose) และช่วยในการปฏิบัติการได้จริง (Practicality), ลดแรงงานคน (Labor reduction) ได้จริง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้สินค้าของบริษัท มีความโดดเด่น (Outstanding) เนื่องจากคุณสมบัติ (Property) ของสินค้า เมื่อเทียบกับสินค้าของคู่แข่ง
  • แนวแกนนอน (Horizon) กำหนดให้เป็นประสิทธิผล (Effective) ของวิธีการตรวจวิเคราะห์ ในที่นี้ สิ่งที่นำมาวัดประสิทธิผลในการตรวจวิเคราะห์ว่า สินค้าใดมีประสิทธิผลสูง หรือต่ำกว่า จะมีการเปรียบเทียบโดยอาศัยเอกสารทางวิชาการ (Published clinical paper) ซึ่งเป็นเอกสารวิชาการที่เชื่อถือได้ (Reliable) มีการรับรองชัดเจนว่ามีวิธีการเปรียบเทียบตรงตามหลักการสถิติ (Statistics) จากเอกสารวิชาการหลายฉบับพบว่า สินค้ามีประสิทธิผลของการตรวจวิเคราะห์อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาด จะทำให้ได้ภาพมุมมอง

ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing strategy) มี 4P ที่ต้องได้รับพิจารณา อันได้แก่

  1. Product/service (ผลิตภัณฑ์/บริการ)
  2. Price (ราคา)
  3. Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย)
  4. Promotion (การส่งเสริมการตลาด) 

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2024, August 15].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2024, August 15].