6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 36

  • เป้าหมายระยะกลาง (ระยะเวลา 2 – 3 ปี)
    • ทำการตลาดเชิงรุก (Pro-active marketing) เข้าไปถึงผู้ใช้ในกลุ่มของแพทย์หรือพยาบาล รวมถึงบุคลากรทางด้านสุขภาพ (Health-care professionals) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความรู้จักในทุกกลุ่มลูกค้าที่เกี่ยวข้องกบผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุด
    • มุ่งเน้นการทำกำไร (Profitability) จากเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ (Automatic diagnosis) จากเดิมที่อาจขายเพื่อสร้างฐานลูกค้า (Customer base) หรือสร้างเครือข่าย (Network) ผู้ใช้งาน (User) เป็นหลักโดยมีเป้าหมายของยอดขาย (Sales revenue) เพิ่มขึ้นปีละ 10 – 20% โดยอาจผลักดัน (Drive) ให้ใช้การทดสอบให้มากขึ้น หรือเพิ่มชนิด (Type) ของการตรวจวิเคราะห์ สำหรับเครื่องมือที่ได้มีการติดตั้ง (Install) ไปแล้วให้มากที่สุด
    • สร้างเครือข่ายผู้ใช้งานเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ของทางบริษัท เพื่อให้เกิดความร่วมมือกับทั้งทางบริษัทและกลุ่มลูกค้า เพื่อสร้างความสามารถ (Capability) ในการใช้งานใหม่ เพื่อจะได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ (New product development) ให้เพิ่มมากขึ้น
  • เป้าหมายระยะยาว (ระยะเวลา 4 ปี เป็นต้นไป)
    • เป็นอันดับ 1 ใ นตลาดเครื่องมือตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ ทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา (Micro-biology laboratory) แบบวิธีพิเศษ ทั้งด้านยอดขาย และส่วนแบ่งทางการตลาด (Market share) เมื่อเทียบกับเครื่องมือในรูปแบบเดียวกัน
    • สร้างความคุ้มค่า (Value for money) ให้กับเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทุกเครื่องของทางบริษัท อย่างเต็มที่โดยวัดจากยอดกำไรหลัก หักค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าต้นทุนของน้ำายาตรวจวิเคราะห์ไม่น้อยกว่า 30% ต่อปี
    • ขยาย (Expand) ฐานลูกค้าไปยังโรงพยาบาลขนาดกลาง หรือเล็กเพิ่มเติม หรือสร้างความร่วมมือ (Collaboration) กับบริษัทที่มีสินค้าที่สามารถใช้ร่วมกนได้ เพื่อส่งเสริม (Promote) ทั้งทางด้านยอดขาย และความสามารถในการแข่งขัน (Competitive capability) เมื่อเทียบกับบริษัทคู่แข่งขันต่อไป

ข้อมูลจากการสำรวจ (Survey), การสัมภาษณ์ (Interview), และการสังเกต (Observation) ลักษณะการปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการตามโรงพยาบาลทั่วไปในประเทศไทยนั้น อาจสามารถแบ่งส่วนในตลาด (Segmentation) เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ (Clinical diagnosis) ของห้องปฏิบัติการได้ดังนี้

  1. ห้องปฏิบัติการในสถานพยาบาลทั่วไป เป็นห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Clinical laboratory) ที่ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ในลักษณะงานประจำวัน (Routine Testing) อันอาจได้แก่ การตรวจวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน มิได้ทาการทดสอบพิเศษอื่นใด หากมีการส่งเพื่อต้องการผลการตรวจวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced) อาจส่งต่อไปยังห้องปฏิบัติการที่มีการตรวจวิเคราะห์ที่ศักยภาพ (Potential) สูงกว่าห้องปฏิบัติการเอง

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2024, July 18].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2024, July 18].