6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 34

  • วิธีการที่ใช้ในการซื้อสินค้าประเภทเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ - คือ วิธีการที่กลุ่มเป้าหมาย (Target group) ทำข้อตกลง (Contract) กับบริษัทผู้จำหน่ายเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ในการซื้อขายสินค้า โดยสำรวจ (Survey) ทั้งวิธีการ, ข้อคิดเห็น, เหตุผลที่เลือกใช้วิธีการซื้อ ใน 2 รูปแบบ อันได้แก่
    • วิธีการซื้อเครื่องมือแบบซื้อขาด (Outright purchase) กล่าวคือ เครื่องมือตกเป็นทรัพย์สิน (Asset) ของ โรงพยาบาล เหตุผล (Rationale) ที่เลือกใช้วิธีการนี้ มักจะเป็นเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ที่เป็นลักษณะซื้อครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) หรือน้ำยา (Re-agent) ตรวจวิเคราะห์ของบริษัทผู้จัดจำหน่ายในการใช้งาน ยิ่งไปกว่านั้น อาจเป็นเครื่องมือที่จำเป็น (Necessary) อย่างยิ่ง หรือไม่มีวิธีการอื่นใดทดแทน (Substitute) เครื่องมือตรวจวิเคราะห์นั้นได้ และโรงพยาบาลต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมและบำรุงรักษา (Repair and maintenance) เครื่องมือทั้งหมดเอง ในกระบวนการซื้อสินค้าทางห้องปฏิบัติการ จะต้องยื่นขอตั้งงบประมาณ (Budgeting) เพื่อดำเนินการซื้อ ซึ่งใช้เวลาในการของบประมาณและวางแผนการจัดซื้อล่วงหน้าเป็นเวลานาน และมีความยุ่งยากซับซ้อน (Complex) ในขั้นตอน โดยความเห็นของกลุ่มเป้าหมายไม่สะดวก (Inconvenient) ที่จะใช้วิธีนี้ในการซื้อสินค้า
    • วิธีการซื้อเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ผ่านโปรแกรม RRP (= Reagent Rental Program) เป็นวิธีที่กลุ่ม เป้าหมายเลือกที่จะใช้เมื่อต้องซื้อสินค้าประเภทเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ เนื่องจากมีความง่าย (Ease) และการใช้ระยะเวลาดำเนินการสั้นกว่า และมีความสะดวกในการบริหาร เนื่องจากบริษัทเป็นผู้จัดหาเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด รวมถึงการติดตั้ง (Installation) ให้ พร้อมใช้งานและเครื่องมือยังคงถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท ดังนั้นหน้าที่และค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือยังคงเป็นของบริษัท กลุ่มเป้าหมายจะดำเนินการซื้อเพียงวัสดุสิ้นเปลือง และ น้ำยาที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์เท่านั้น โดยกลุ่มเป้หมายเห็นว่าราคาที่แพงขึ้นของน้ำยาเมื่อซื้อโดยวิธีนี้มีความคุ้มค่า (Worth) กว่าการซื้อเครื่องมือตรวจวิเคราะห์แบบขายขาด ที่สามารถซื้อน้ำยาตรวจวิเคราะห์ ในราคาที่ถูกกว่า
  • ความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อบริษัทผู้จัดจำหน่าย – เพื่อให้เข้าใจถึงความคาดหวัง (Expectation) ของลูกค้าที่ซื้อสินค้า ผู้วิจัยจึงได้สำรวจ (Survey) จากกลุ่มเป้าหมาย ถึงความต้องการ (Demand) หรือสิ่งที่คาดหวังวาจะได้รับจากบริษัทผู้จัดจำหน่าย ทั้งด้านสินค้าและการให้บริการ ดังนี้
    • ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) สิ่งที่คาดหวัง ก็คือ
      • ด้สินค้าที่มีคุณภาพ (Quality) และมีประสิทธิผล (Effectiveness) ในการตรวจวิเคราะห์ เพื่อป้องกัน (Prevent) และลดปัญหากรณีเกิดผล (Result) การตรวจวิเคราะห์ (Diagnosis) ผิดพลาด (Error)
      • เป็นเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ที่สามารถช่วยลดงานได้จริงและมี ความเสถียร (Stability) สูง ใช้งานได้ต่อเนื่อง ไม่เกิดปัญหาจุกจิกระหว่างการทำงาน
      • เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง (Certified) ด้านคุณภาพจากสถาบัน (Institution) ที่เชื่อถือ (Reliable) ได้
      • เป็นเครื่องตรวจวิเคราะห์ที่สามารถรองรับการใช้งานได้หลากหลาย (Multi-function) เนื่องจากลูกค้าไม่ต้องการติดตั้ง (Installation) เครื่องมือหลายชนิด (Variety) มากเกินไป ในห้องปฏิบัติการ 

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2024, June 20].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2024, June 20].