6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 30

สำรวจ (Survey) ความต้องการ (Demand) ของสินค้าในตลาด, ปัญหาและความพึงพอใจ (Satisfaction) ของการตรวจวิเคราะห์ (Diagnosis) ที่ใช้ในปัจจุบัน, วิธีการซื้อสินค้าของลูกค้า, และความคาดหวัง (Expectation) ของลูกค้าต่อบริษัทผู้จัดจำหน่าย (Distributor) โดยดำเนินการสำรวจช่วงระหวางเดือนสิงหาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 จาก ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา (Microbiology laboratory) ทั่วประเทศ

สภาพการแข่งขันในมิติกลยุทธ์การตลาดของคู่แข่ง

ในการสำรวจภาพรวม (Overall) ของตลาด มิติของสภาพการแข่งขัน (Competitiveness), คู่แข่งขันที่สำคัญ (Major competitors) และกลยุทธ์การตลาด (Marketing strategy) ของคู่แข่งขันนั้น เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยไม่สามารถสำรวจจากบริษัทคู่แข่งโดยตรง (Direct) ได้ ดังนั้น จึงต้องเก็บข้อมูลดังกล่าว จากกลุ่มลูกค้า (Major users) ที่ใช้สินค้าประเภทเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของบริษัทอื่นอยู่แทน

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมทั่วประเทศ (Comprehensive) ผู้วิจัยได้เลือกห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในแต่ละภูมิภาค (Region) อันได้แก่ ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง, ภาคใต้, และกรุงเทพมหานคร โดยเน้นการสำรวจเฉพาะโรงพยาบาลขนาด 150 เตียงขึ้นไป

เมื่อได้กาหนดเป้าหมาย (Target) ในการสำรวจแล้ว ผู้วิจัยได้เริ่มสำรวจระหว่าง เดือน มิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 โดยได้สรุปข้อมูลเป็นหัวข้อดังนี้

  • สภาพการแข่งขันในตลาด (Market competition) – ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ พบว่ามีจำนวนผู้ขายน้อยราย (Meager) ที่ดำเนินธุรกิจขายสินค้าและบริการในกลุ่มเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และลักษณะของสินค้าเป็นสินค้าที่มีความแตกต่างกัน (Differentiation) อยู่บ้าง แต่สามารถเลือกใช้ของแต่ละบริษัทเพื่อใช้งานทดแทนกัน (Substitution) ได้ในการตรวจวิเคราะห์ชนิดเดียวกัน และในด้านวิธีการแข่งขันมีการแข่งขันทั้งทางด้านราคา (Pricing) และมิใช่ราคา (Non-pricing) ดังนั้นจากการวิเคราะห์สภาพการแข่งขันในตลาดเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ใน ประเทศไทย
  • ู่แข่งที่สำคัญในตลาด – จากการสำรวจทั้งจากการสังเกตและสอบถาม (Interview) กลุ่มเป้าหมาย พบเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลักได้แก่ 
    • เครื่องมือตรวจวิเคราะห์แบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-automated System) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา โดยต้องใช้ร่วมกับน้ำยา (Re-agent) ในการตรวจวิเคราะห์เป็น เครื่องมือที่ช่วยลดแรงงานคน (Labor) ในการปฏิบัติงานได้บางส่วน และยังจำเป็นต้องใช้แรงงานคนร่วมในกระบวนการ (Process) ตรวจวิเคราะห์ ความถูกต้องแม่นยำ (Correct and precise) ของวิธีการตรวจวิเคราะห์ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานที่ถูกต้องของผู้ตรวจวิเคราะห์ (Laboratory technologist), คุณภาพ (Quality) ของทั้งน้ำยา, และเครื่องมือ (Equipment) ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์
    • เครื่องมือตรวจวิเคราะห์แบบอัตโนมัติ (Fully-automated system) เป็นเครื่องมือที่ใช้ร่วมกับน้ำยาในการตรวจวิเคราะห์เช่นเดียวกัน แต่หากเป็นเครื่องมือที่ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ให้ทั้งหมดทุกขั้นตอน (All stages) ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนเข้ามาร่วมในกระบวนการตรวจวิเคราะห์, คุณภาพและประสิทธิภาพ (Efficiency) ของผลการตรวจวิเคราะห์ขึ้นอยู่กับเครื่องมือและน้ำยาที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์เท่านั้น จากการสำรวจพบว่ามีทั้งหมด 6 บริษัท ที่ถือได้ว่าเป็นคู่แข่งของบริษัทฯ โดยตรง

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2024, April 9].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2024, April 9].