6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 29

ขั้นตอนต่อไป คือการพัฒนาแผนการตลาด (Marketing plan) ซึ่งก็คือเอกสาร (Document) หรือแบบแผนที่เป็นรายละเอียด(Comprehensive) หรือ พิมพ์เขียน (Blue-print) ที่กำหนดความพยายาม (Effort) หรือกิจกรรมการตลาด ที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุ (Accomplish) วัตถุประสงค์ทางการตลาด ภายในระยะเวลาที่กำหนด (Time-frame)

แผนการตลาดยังรวมถึงการอธิบายตำแหน่ง (Positioning) ทางการตลาดปัจจุบัน (Current) ของธุรกิจ, ตลาดเป้าหมาย (Target market), และส่วนผสมการตลาด (Marketing mix) ที่ธุรกิจจะใช้เพื่อบรรลุเป้าหมาย

แผนการตลาดมีโครงสร้าง (Structure) ทางการตลาดแบบเป็นทางการ (Formal) แต่สามารถใช้เป็นเอกสารทางการ (Formal) หรือเอกสารที่ไม่เป็นทางการ (Informal) ได้ ซึ่งทำให้มีความยืดหยุ่นมาก (Flexible) เพราะประกอบด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ (Historical data), คาดการณ์ (Forecast) ในอนาคต, และวิธีหรือกลยุทธ์ (Strategy) ในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาด

แผนการตลาดเริ่มต้นด้วยการระบุ (Identification) ความต้องการ (Need) ของลูกค้าผ่านการวิจัยตลาด (Research) และวิธีที่ธุรกิจสามารถตอบสนอง (Satisfy) ความต้องการเหล่านี้ได้ ในขณะที่สามารถสร้าง (Generate) ผลตอบแทน (Return) ที่ยอมรับได้ (Acceptable)

ยิ่งไปกว่านั้น ยังรวมถึงกระบวนการ (Process) เช่น การวิเคราะห์ (Analysis) สถานการณ์ตลาด (Market analysis), กลยุทธ์ (Strategy), โปรแกรมลงมือปฏิบัติ (Action program), งบประมาณ (Budget), การพยากรณ์ยอดขาย (Sales forecast), และงบการเงิน (Financial statement) ที่คาดการณ์ (Projected) ไว้

นอกจากนี้ แผนการตลาดยังสามารถอธิบายได้เป็นเทคนิคที่ช่วยธุรกิจตัดสินใจ (Decision-making) ในการใช้ทรัพยากร (Resource utilization) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท (Corporate objective) นอกจากนี้ ยังสามารถมีการวิเคราะห์ทั้งหมด (Full analysis) เกี่ยวกับจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท, องค์กร (Organization) และผลิตภัณฑ์ (Product) ของธุรกิจได้

ในการประยุกต์ใช้แผนการตลาดกับกรณีของเรา ข้อมูลที่ได้นำมาประกอบการเขียนแผนการตลาดนั้น ผู้วิจัย (Researcher) ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยกัน 2 วิธีคือ

  1. วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)
  2. วิธีการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant observation)

โดยทำการเก็บข้อมูล (Data collection) จากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Clinical laboratory) ในประเทศไทย ในช่วงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2557ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ด้วยวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ดังนี้

  1. ศึกษาภาพรวม (Overall) ของตลาดเครื่องมือ (Equipment) การตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา (Micro-biology), สภาพการแข่งขันคู่แข่งขัน (Competitive situation) ที่สำคัญ, กลยุทธ์การตลาดของคู่แข่ง โดยทำการสำรวจ ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 จากห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาที่ดำเนินการทั่วประเทศ

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2024, March 26].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2024, March 26].