6.ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 22

  1. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining of customer) – เนื่องจากผู้ซื้อโดยส่วนมากในตลาดห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา (Micro-biology) คือกลุ่มโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ (Regional) และกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) ซึ่งมีสาขากระจายอยูทั่วประเทศ ดังนั้น เนื่องด้วยขนาด (Size) และยอดการสั่งซื้อของโรงพยาบาลนั้น จึงมีอำนาจในการต่อรอง (Negotiation) หรือเลือกใช้สินค้าของแต่ละบริษัทได้มาก และบริษัทจำเป็นต้องยอมเพื่อรักษาฐานการตลาด (Marketing base) ของตนเองไว้ โดยรวมเป็นผลเสียต่อผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ การที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐบาล จึงมีอำนาจสูงในการต่อรองจากผู้ประกอบการ เนื่องด้วยข้อจำกัดของงบประมาณ (Budget limitation) หรือค่าใช้จ่ายที่ถูกกดดัน (Pressure) มาจากทางภาครัฐ ทำให้ผู้ประกอบการบางราย ยอมที่จะขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด (Below market price) โดยทั่วไป เพื่อรักษาฐานลูกค้าของตนเองไว้ ซึ่งเป็นผลลบ (Unfavorable) ต่อผู้ประกอบการจำหน่ายเครื่องมือตรวจวิเคราะห์
  1. อำนาจต่อรองของผู้ขาย (Bargaining of supplier) - จากการที่เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์เป็นเครื่องมือ ที่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีและความรู้สูง (Advanced) ในการผลิต ทำให้อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายนั้นด้อยกว่า ผู้ผลิต (Manufacturer) ซึ่งถือเป็นผลบวก (Favorable) ต่อธุรกิจในกลุ่มเจ้าของผลิตภัณฑ์เอง ดังเช่น บริษัท Beckton Dickinson, [Abbot, และ Roche] ลูกค้าในกลุ่มเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ มักจะอยู่ในมือของผู้จัดจำหน่ายที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่อยู่ในมือของตัวแทนจำหน่าย (Distributor) แต่เจ้าของผลิตภัณฑ์มักจะไม่มีข้อมูลของลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ขายผลิตภัณฑ์แต่ละรายเท่าที่ควร ทำให้เกิดมีความคิดริเริ่ม (Initiative) เพื่อจะผันตัวเองเข้ามาสู่ตลาดนี้เสียเอง แม้จะต้องใช้เวลาและศึกษาตลาด (Market study) นี้ใหม่ทั้งหมด หากไม่มีพื้นฐานทางด้านตลาด (Market background) นี้มาก่อน ในส่วนของผู้ประกอบการที่เป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (Domestic) อาจเป็นผลลบจากการดำเนินธุรกิจนี้ เนื่องจากหากผู้ขายผลิตภัณฑ์เห็นโอกาส (Opportunity) และความเติบโตของธุรกิจ (Business growth) นี้ในประเทศไทย ก็อาจจะฉกฉวย (Snatch) โอกาสและทำกำไรจากธุรกิจนี้ โดยการเข้ามาเปิดบริษัทย่อย (Subsidiary) เองขึ้นในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการตัวแทนจำหน่าย ไม่สามารถมีสินค้าที่แข่งขัน หรือถูกตัดสิทธิ์ (Termination) ในการเป็นตัวแทนจำหน่าย (Distributorship) จากผู้ผลิตรายนั้นๆ ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

จากข้อมูลแรงกดดันทั้ง 5 ด้านนี้ (Porter’s Five-Forces Analysis) อาจทำให้พบว่า หากผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา จะเข้ามาทำตลาดในส่วนนี้ หากเป็นผู้ประกอบการที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตสินค้าและบริการ มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังมีข้อมูลตลาดตลอดจนมีศักยภาพ (Potential) ในการเข้าถึง (Access) ข้อมูลของตลาดอยูในมือ ก็อาจสามารถเข้ามาเป็นผู้เล่น (Player) รายใหม่ในตลาดนี้ได้อยางไม่ยากเย็นนัก

กรอบการทำงาน (Frame-work) ของแรงกดดันทั้ง 5 ด้านเป็นวิธีการวิเคราะห์สภาพการทำงานของการแข่งขันในธุรกิจ ซึ่งวิวัฒนามาจากเศรษฐศาสตร์องค์กรอุตสาหกรรม (Industrial organization: IO) อันนำมาซึ่ง (Derive) แรงกดดันทั้ง 5 ที่กำหนด (Determine) ความเข้มข้นในการแข่งขัน (Competitive intensity) และความสามารถ (หรือปราศจากความสามารถ) ในการทำกำไร (Profitability) ของอุตสาหกรรม (Industry) 

แหล่งข้อมูล

  1. file:///C:/Users/user/Downloads/TP%20BM.021%202557%20(1).pdf [2023, December 19].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Porter%27s_five_forces_analysis [2023, December 19].