6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 21
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 6 ธันวาคม 2566
- Tweet
- การเป็นผู้เล่น (Player) รายแรก สำหรับเทคโนโลยีหรือการทดสอบใหม่ ซึ่งจะทำให้ ได้รับการยอมรับ (Accept) จากลูกค้า และโดยมากลูกค้าจะปฏิเสธ (Reject) ผู้เล่นรายอื่นที่ต้องการเข้ามาดำเนินธุรกิจในสินค้าที่มีอยู่เดิม ในเงื่อนไขที่ว่าผู้เล่นรายแรกที่ครองพื้นที่ (Coverage) อยู่นั้น จะต้องรักษามาตรฐาน (Standard) หรือมีการพัฒนาด้านสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้นไปอยู่เสมอ
เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการนำมาวิเคราะห์ธุรกิจใหม่ อาจพิจารณาทฤษฎี “แรงกดดันทั้ง 5” (5-Force Analysis) ของ Michael E. Porter ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ช่วยในการวิเคราะห์ภาพรวม และความน่าสนใจในการทำธุรกิจนี้ โดยแบ่งเป็นเป็นส่วนๆ ดังนี้
- ความรุนแรงของการแข่งขัน (Intensity of competitive rivalry) - เมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้เล่น (Player) ในตลาด พบว่ามีจำนวนไม่มากในตลาด จึงทำให้การแข่งขัน (Competition) ยังมีความรุนแรงปานกลาง (Moderate) แต่ในด้านจำนวนลูกค้า พบว่าตลาดที่มีจำนวนสถานพยาบาลมากมาย ทำให้การแข่งขันค่อนข้างสูงในเชิงของการแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด (Market share) โดยส่วนมากคือการเข้าไปแทนที่ในส่วนของตลาดเดิมของคู่แข่งในผลิตภัณฑ์กลุ่มเดียวกัน เนื่องจากในตัวผลิตภัณฑ์ที่ยังมีความแตกต่างกัน (Differentiation) อยู่ในเชิงของคุณภาพ (Quality) ดังนั้น การแข่งขันด้านความแตกต่างทางด้านสินค้า และทางด้านราคา (Pricing) จึงยังมีการแข่งขันกันอยู่ค่อนข้างน้อย ตามแต่ความพึงพอใจ (Satisfaction) ของลูกค้าเป็นสำคัญ
- การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ (New Entrance) - ในการเปิดบริษัท หรือเป็นผู้แทนในการจัดจำหน่าย (Distributor) เป็นการซื้อมา-ขายไป ไม่จำเป็นต้องลงทุน (Invest) ในการวิจัยและพัฒนา (Research and development) สินค้าของตนเอง ซึ่งส่งผลให้มีการใช้เงินลงทุนไม่มาก ปัจจัยนี้จึงอาจทำให้เกิดคู่แข่งรายใหม่ๆ ขึ้นมา (New comer) ในตลาดได้ง่าย ตามระเบียบของกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ (Division of Medical Device) สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) [Food and Drug Administration: FDA] ในการเปิดบริษัทเพื่อจัดจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ มิได้มีข้อจำกัด (Limitation) หรือกฎเกณฑ์ห้ามมิให้ประกอบการ หรือมีสัมปทานในการประกอบกิจการ ซึ่งหากมีการขอขึ้นทะเบียน (Registration) ได้อย่างถูกต้อง ก็สามารถดำเนินการได้เลย ดังนั้น จึงเป็นผลเสียแก่ผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจอยู่แล้ว (Existing) แต่เป็นโอกาสให้ผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาเป็นคู่แข่งได้ง่าย
- สินค้าทดแทน (Substitute Products) – ในปัจจุบันยังไม่สามารถมาทดแทนสินค้าและบริการทางด้านการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Clinical laboratory) ได้ จึงถือว่าเป็นปัจจัยบวกต่อธุรกิจทางด้านการขายเครื่องมือและนำยา (Re-agent) ในการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์นี้ โดยเฉพาะเครื่องมืออัตโนมัติ (Automation) แม้ว่าในปัจจุบัน มีเพียงสินค้าทดแทนบ้างในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา (Micro-biology) ได้ แต่ยังต้องใช้กาลังคนในขั้นตอนของการตรวจวิเคราะห์นั่นเอง (Manual laboratory identification) ซึ่งอาจมีราคาต้นทุนที่ถูกกว่าในด้านวัสดุ (Supplies) แต่จะต้องเสียต้นทุนในส่วนของแรงงานคน (Labor cost) เข้าไปเสริม จนทำให้ต้นทุนสุดท้ายอาจไม่แตกต่างกัน หรือแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญก็เป็นได้ ดังนั้น ถือเป็นปัจจัยที่ยังคงส่งเสริมให้ ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ (Potential) เข้ามาสู่ตลาดนี้ในอนาคต
แหล่งข้อมูล –
- file:///C:/Users/user/Downloads/TP%20BM.021%202557%20(1).pdf [2023, December 5].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Porter%27s_five_forces_analysis [2023, December 5].