6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 16
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 27 กันยายน 2566
- Tweet
ข้อมูลล่าสุดในปี พ.ศ. 2555 จากกระทรวงสาธารณสุข มีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 43,293ราย อัตราการเสียชีวิต (Mortality) อยู่ที่ 67.4% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน +2.9% อาจชี้ให้เห็นได้ว่า การให้การรักษาผู้ที่ป่วยด้วยโรคกลุ่มนี้ ยังขาดประสิทธิผล (Efficacy) ที่ดีเพียงพอจะควบคุมให้ปริมาณและอัตราการเสียชีวิตลดลง
ดังนั้น การตรวจวิเคราะห์ (Diagnosis) เพื่อหาสาเหตุและชนิดของเชื้อก่อโรคจากผู้ป่วยที่ถูกต้อง (Correct), แม่นยำ (Precise), และรวดเร็ว (Fast) นั้น มีความจำเป็นและเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการรักษาและป้องกัน การเกิดเชื้อดื้อยา (Drug resistance) ในอนาคต
ความน่าสนใจและโอกาส (Opportunity) จากความต้องการ (Requirement) เครื่องมือที่ช่วยให้สามารถรายงานผลการทดสอบได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์* ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย
- ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา (Micro-biology)
- ห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา (Hematology)
- ห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก (Bio-chemistry)
- ห้องปฏิบัติการภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology)
- ห้องปฏิบัติการธนาคารเลือด (Blood-bank)
- ห้องปฏิบัติการจุลทรรศนะศาสตร์คลินิก (Microscopy)
หมายเหตุ* ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Clinical Laboratory) หมายถึง ห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจสิ่งส่งตรวจ (Specimen) ของผู้เข้ามารับบริการตรวจทางสุขภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย
เครื่องมือการตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ยังขาดเครื่องมือที่ช่วยในการรายงานผลให้รวดเร็ว และถูกต้อง หรือยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการปฏิบัติงาน (Operations)
ในส่วนของเครื่องมือในห้องปฏิบัติการหลัก (Central laboratory) ในอดีต จะใช้แรงงานคน (Labor) และการทดสอบแบบใช้มือ (Manual testing) ซึ่งใช้เวลานาน (Lengthy) และมีความผิดพลาด (Error) ค่อนข้างสูง
ความผิดพลาดดังกล่าว เกิดจากความ ผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงานเอง (Human error) หรือจากระบบการตรวจวิเคราะห์ที่ใช้ผิดพลาด (System error), ความผิดพลาดจากน้ำยา (Reagent error), หรือความผิดพลาดจากต้นแบบ (Protocol error) ซึ่งทั้งหมด มีค่าระหว่าง 31.6% ถึง 75%
ความผิดพลาดดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ เมื่อคน 2 คนปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ อาจมีวิธีในการดำเนินการตรวจวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน ทำให้ผลการตรวจวิเคราะห์คลาดเคลื่อน, ไม่เป็นมาตรฐาน (Standard), และปราศจากความน่าเชื่อถือ (Reliability)
แหล่งข้อมูล –
- file:///C:/Users/user/Downloads/TP%20BM.021%202557%20(1).pdf [2023, September 26].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Good_laboratory_practice [2023, September 26].