6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 15
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 13 กันยายน 2566
- Tweet
ปัจจุบัน การให้การรักษา (Treatment) และวินิจฉัย (Diagnosis) ผู้ป่วยอันเนื่องจากโรค มีการพัฒนาและมีวิวัฒนาการไปอย่างมาก ถึงกระนั้น การตรวจวิเคราะห์บางชนิดในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ก็ยังมีข้อจำกัด (Limitation) เช่น การตรวจวิเคราะห์โรคซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ (Infection) แบคทีเรียชนิดร้ายแรง ข้อจำกัดดังกล่าวก็คือ ระยะเวลาในการรายงานผลที่ยาวนาน
นอกจากนี้ อาจมีความไวในการตรวจวิเคราะห์ที่ต่ำ (Low sensitivity) ทำให้ไม่สามารถตรวจพบเชื้อก่อโรคได้ ซึ่งโรคติดเชื้อที่ได้กล่าวไปนั้น อาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต (Mortality) ตามข้อมูลสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหาร (Gastro-intestinal tract) แห่งประเทศไทย
ดังนั้น การหาวิธีการหรือเครื่องมือที่นำมาตรวจวิเคราะห์ทางด้านจุลชีววิทยา (Micro-biology) สำหรับเชื้อก่อโรคต่างๆ ที่ได้ทั้งความไวในการตรวจวิเคราะห์และความรวดเร็ว (Speed) ในการรายงานผลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นที่มาและความน่าสนใจของธุรกิจการน้ำยาและเครื่องมือในการตรวจวิเคราะห์วินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Clinical laboratory)
ความน่าสนใจของธุรกิจนี้ ก็คือ เป็นสินค้าในการตรวจวิเคราะห์ที่มุ่งเน้นกลุ่มของโรคติดเชื้อที่มีประสิทธิผล (Efficacy) สูงกว่าวิธีการตรวจวิเคราะห์เดิม โดยโรคติดเชื้อเป็นสาเหตุอันดับแรกของการเจ็บป่วย (Sickness) ในประเทศไทย และโรคติดเชื้อเป็นโรคที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ตามข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (Policy and strategy) กระทรวงสาธารณสุข
ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องตรงกับชนิดของเชื้อก่อโรค ด้วยความรวดเร็วและทันท่วงที (Immediately) เพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยเอาไว้ให้ได้ โรคติดเชื้อ (Infectious disease) คือ โรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค เช่น ไวรัส (Virus), แบคทีเรีย (Bacteria), เชื้อราโปรโซัว (Protozoa), และ ปรสิต (Parasite)
แม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่น ฟรีออน (Freon) ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิต การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทางรวมถึงการสัมผัสผู้ป่วย โดยตรง จุลชีพ (Microbe) ก่อโรค อาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย, อาหาร, น้ำดื่ม, วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน (Contamination), และลมหายใจ นอกจากนี้ อาจผ่านพาหะ (Carrier) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย หรือตัวเชื้อก่อโรคนี้อาจมีความสามารถในการสร้างสารพิษที่มีอันตรายต่อร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในที่สุด
การติดเชื้อรุนแรง, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis), และภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) สามารถรักษาให้หายได้ หากผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะ (Antibiotic treatment) อย่างทันท่วงที จากข้อมูลของสโมสรโรคติดเชื้อแห่งอเมริกา (Infectious Diseases Society of America: IDSA)
ส่วนข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2555 พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยอันเนื่องมาจากกลุ่มโรคติดเชื้อและปรสิต อยู่ที่อันดับที่ 2 และมีจำนวนและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน ปี พ.ศ. 2551 มีจำนวน 41,369 ราย และอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 64.9%
แหล่งข้อมูล –
- file:///C:/Users/user/Downloads/TP%20BM.021%202557%20(1).pdf [2023, September 12].
- https://www.idsociety.org/ [2023, September 12].