6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 11

กระบวนการให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรม (Industrial laboratory) มีดังนี้

  • รับคำขอ (Application)
  • ตรวจสอบเบื้องต้น (Preliminary) ห้องปฏิบัติการ
  • ตรวจประเมินเอกสาร (Document evaluation)
  • ตรวจประเมิน (Assessment) ณ ห้องปฏิบัติการ
  • สรุปรายงาน (Summary report) การตรวจประเมิน นำเสนอคณะอนุกรรมการ (ตามสาขา) พิจารณาการรับรอง
  • สรุปรายงานเสนอคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial standard)
  • จัดทำใบรับรอง (Accreditation)
  • เผยแพร่ (Dissemination) รายชื่อห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง
  • ตรวจติดตามผล (Monitor) การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
  • ตรวจประเมินใหม่ (Re-accreditation) ทุก 3 ปี

การเตรียมการ (Preparation) เพื่อขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ มี 9 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ศึกษาข้อกำหนด (Requirement) มอก.17025 และข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. ให้ความเห็นชอบ (Approval) ในการจัดทำระบบคุณภาพ (Quality system) ของห้องปฏิบัติการโดยผู้บริหาร
  3. แต่งตั้ง (Appointment) คณะทำงานเพื่อดำเนินการ และเฝ้าระวังระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ
  4. กำหนดนโยบาย (Policy) วางแผนการจัดทำระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน มอก. 17025
  5. ปฏิบัติตาม (Compliance) ระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ
  6. ตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal audit) เพื่อให้มั่นใจว่าระบบคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนด
  7. แก้ไขข้อบกพร่อง (Deficiency) ที่พบ จากการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
  8. ประชุมทบทวน (Review) การบริหารงานและการปรับปรุงประสิทธิภาพ ระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ
  9. ติดต่อ (Contact) หน่วยงานรับรองห้องปฏิบัติการ, สำนักมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

การนำมาตรฐาน มอก.17025 มาใช้และการได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการให้ประโยชน์ (Benefit) ดังนี้

  • เพิ่มขีดความสามารถ (Competency) ของห้องปฏิบัติการให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
  • ทำให้เกิดความมั่นใจ (Confidence) คุณภาพและความน่าเชื่อถือในรายงานผลการทดสอบหรือผลการสอบเทียบ
  • ทำให้เกิดการยอมรับรายงานผลทดสอบ ในกลุ่มประเทศสมาชิก Asia Pacific Laboratory Accreditation Cooperation (APLAC) และ International Laboratory Accreditation Cooperation (ILAC)
  • อำนวยประโยชน์และความสะดวก (Facilitate) ทางการค้าระดับประเทศ และระดับระหว่างประเทศ
  • ลดการกีดกันทางการค้า (Trade barrier) อันเนื่องมาจากการทดสอบและลดการตรวจซ้ำ จากประเทศคู่ค้า
  • ได้รับการยอมรับ (Acceptance) ให้เป็นหน่วยตรวจสอบของหน่วยงานเจ้าของกฎระเบียบ 

แหล่งข้อมูล -

  1. https://www.tisi.go.th/data/lab/pdf/17025_t.pdf [2023, July 18].
  2. https://www.iso.org/ISO-IEC-17025-testing-and-calibration-laboratories.html [2023, July 18].