6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 10
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 5 กรกฎาคม 2566
- Tweet
หากพูดถึงการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเราจะต้องมั่นใจว่าเครื่องมือที่เรานำมาใช้งานนั้น มีการแสดงผลหรือค่าตัวเลขต่างๆที่ถูกต้อง หลายครั้งที่เรามักจะพบว่าการตรวจสอบเกิดความผิดพลาดไม่ใช่จากผู้ปฏิบัติงาน แต่เป็นเพราะอุปกรณ์ของเรานั้นไม่ได้มาตรฐานจึงส่งผลให้งานต่างๆ เกิดความเสียหาย
ดังนั้นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการทำงานจะต้องได้รับการทดสอบหรือสอบเทียบ (Calibrate) ความถูกต้องความแม่นยำในการแสดงผลต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่า งานที่เราได้ตรวจสอบนั้นมีความถูกต้องตรงตามเครื่องมือที่เรานำไปใช้ทำงาน
ยกตัวอย่างการทดสอบความเร็วรถ หากหน้าจอแสดงความเร็วรถ ทำงานไม่เที่ยงตรง จะทำให้ผลสรุปของความเร็วรถคันนั้นผิดพลาด หรือหากเราทดสอบน้ำหนักตราชั่งว่า สิ่งของนั้นมีน้ำหนักเท่าไร หากตราชั่งแสดงผลผิดพลาด เราก็จะได้น้ำหนักที่ไม่ถูกต้องทันที นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญในการนำเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ไปทำการสอบเทียบ
สำหนักมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการรับรองเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์เหล่านั้นผ่านการทดสอบและตรวจสอบค่าความถูกต้อง แล้วจึงออกใบรับรองให้เครื่องมือในแต่ละชิ้น หากโรงงานไหนที่จะให้ผู้รับเหมาเข้ามาตรวจสอบระบบไฟฟ้า, รถยก (Crane), หรือห้องปฏิบัติการ อะไรก็แล้วแต่ ต้องใช้เครื่องมือในการแสดงผล
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025 (ISO/IEC 17025) เป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรม (Industrial laboratory) ในการทดสอบ และ/หรือ สอบเทียบ ซึ่งจะประกอบด้วยข้อกำหนดด้านการบริหารงานคุณภาพ (Quality) และข้อกำหนดด้านวิชาการ
มาตรฐานนี้ สามารถที่จะนำมาใช้ได้กับทุกองค์กรที่มีการดำเนินกิจกรรมการทดสอบและหรือสอบเทียบ
- ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบของหน่วยรับรอง
- ใช้ยืนยันและยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการ โดยผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการหรือ องค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมาย
ห้องปฏิบัติการทดสอบและหรือสอบเทียบที่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025(ISO/IEC 17025) ถือว่า การดำเนินการด้านระบบคุณภาพในกิจกรรมการทดสอบ/สอบเทียบ เป็นไปตามอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000
บริการห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์อุตสาหกรรม ISO 17025 (ISO/IEC 17025 มีขึ้นเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทย สู่ตลาดโลก อันได้กลุ่มผลไม้สด (Fresh fruit), สินค้าปศุสัตว์ (Live-stock) เช่น เนื้อหมูและวัว, สินค้าประมง โดยเฉพาะกุ้งสด, กลุ่มอาหารทะเลกระป๋อง (Canned seafood) และแปรรูป (Processed food), ตลอดจนสิ่งปรุงรสอาหาร (Condiment) และสมุนไพร (Herb)
แหล่งข้อมูล -
- https://www.tisi.go.th/data/lab/pdf/17025_t.pdf [2023, July 4].
- https://www.iso.org/ISO-IEC-17025-testing-and-calibration-laboratories.html [2023, July 4].