7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 7

เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear medicine) เป็นศาสตร์ที่แตกต่างจากรังสีวินิจฉัย (Diagnostic) และรังสีรักษา (Therapeutic) อย่างมาก เพราะเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการนำนิวเคลียร์เทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ โดยให้สารกัมมันตภาพรังสี (Radio-active substance) เข้าไปในร่างกายโดยการฉีด (Injection) หรือรับประทาน

แล้วยังต้องเตรียมเภสัชรังสี (Radio-pharmaceutical) ให้เหมาะสมกับการตรวจรักษาโรคแต่ละชนิด ซึ่งต้องมีการควบคุมคุณภาพและให้ปลอดเชื้อ (Sterile) ตลอดจนการคำนวณขนาด (Doze) ของรังสีที่จะให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย ก่อนที่จะมีการฉีดหรือ ให้ผู้ป่วยรับประทาน แล้วศึกษาการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกาย

นอกจากนี้ ยังต้องศึกษากลไกพยาธิสรีรวิทยา (Pathological mechanism) อย่างละเอียด โดยการถ่ายภาพทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ และยังใช้ในการตรวจโรคระบบโลหิตวิทยา (Hematology) ตลอดจนการตรวจเลือด (Blood), ปัสสาวะ (Urine) ฯลฯ เพื่อวัดระดับฮอร์โมน (Hormone), สารและยาต่างๆ ในร่างกาย จึงแตกต่างจากการวินิจฉัยโรคด้วยการเอ็กซเรย์อย่างสิ้นเชิง

ในด้านการรักษาโรคนั้น รังสีต้นกำเนิดใช้เป็นชนิดไม่ได้ปิดผนึก (Unsealed source) ซึ่งแตกต่างจากด้านรังสีต้นกำเนิดที่ใช้ชนิดปิดผนึก (Sealed source) จะต้องมีมาตรการป้องกัน (Preventive measure) อันตรายจากรังสีเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน (Operator) ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานด้านนี้จะต้องมีความรู้ความสามารถและได้รับการฝึกอบรมด้านนี้โดยเฉพาะ

ทั้งนี้เพื่อการใช้สารกัมมันตรังสีทางการแพทย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความปลอดภัย ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยวิทยาการทางนิวเคลียร์และเทคโนโลยี ซึ่งสาขาเฉพาะทางนี้มีความเจริญก้าวหน้าและขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

การตรวจ วินิจฉัยโรคและการรักษาโรคทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ไม่อาจทดแทนด้านการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคโดยวิธีการอื่น เช่นการตรวจการทำงานของ อวัยวะ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ, ไต, หรือตับ เป็นต้น การตรวจดูการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่อวัยวะต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูง มักตรวจด้วยสารกัมมันตภาพรังสี

เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ใช้วิธีการรักษาด้วย SPECT (=Single photon emission tomography) และ PET (=Positron emission tomography) เช่น การโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ, การรักษาโรคมะเร็งต่างๆ, รวมทั้งโรคบางชนิดทางระบบโลหิตวิทยา (Hematology)

ในปัจจุบันนี้ มีการนำภาพจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography: CT) และเครื่องตรวจด้วยคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging: MRI) มาควบคู่กับภาพ SPECT และ PET ซึ่งภาพจากเครื่องเอกซเรย์ทั้งสองระบบ ปรกติจะแสดงข้อมูลทางกายวิภาคของอวัยวะสั้นๆ แต่เมื่อนำมารวมกันกลายเป็นภาพ ที่ทำให้ได้ข้อมูลทั้งทางด้านสรีรวิทยา (Physiology), ชีววิทยาโมเลกุล (Molecular biology), และกายวิภาค (Anatomy) พร้อมกันในคราวเดียวกัน

ความก้าวหน้า (Advancement) ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical science) เหล่านี้ นำมาซึ่งการขยายตัวของตลาดบริการทางรังสี (Radiation service) ซึ่งส่วนใหญ่มักเริ่มต้นด้วยการเป็นแผนกหนึ่งในโรงพยาบาล แล้วแยกตัวออกมาเป็นศูนย์เอกเทศ (Free-standing) โดยอาจยังคงเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาล หรือเป็นการลงทุนของเอกชนต่างหาก ในตลาดที่โตวันโตคืนอย่างไม่หยุดยั้ง (Ever-growing market)

แหล่งข้อมูล –

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2023, May 25].
  2. https://www.radiologyinfo.org/en/info/linac [2023, May 25].