7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 49
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 18 มกราคม 2568
- Tweet
ผู้เชี่ยวชาญจาก Roland Berger ซึ่งเป็นบริษัท Consulting ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ได้ให้คำแนะนำ (Recommendation) ถึงสิ่งที่จำเป็นในการแปลงโฉมดิจิทัล (Digital transformation) ในธุรกิจดูแลสุขภาพ (Healthcare) ให้ประสบความสำเร็จ ได้ดังนี้
- สร้างวัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture) ที่พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความท้าทาย (Challenge) ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน (Work process) เข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) คือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าว ซึ่งแต่ละองค์กร ต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยนำนวัตกรรม (Innovation) มาใช้ ตัวอย่างเช่น การเลิกระบบการทำงานแบบโดดเดี่ยว (Silo) กล่าวคือ การทำงานที่หน่วยงาน (Work unit) ในองค์กรเดียวกัน ไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information exchange) ระหว่างกัน แยกส่วนกันทำงาน (ต่างคนต่างทำ) สิ่งที่องค์กรต้องการ คือการให้พนักงานทำงานร่วมกัน แชร์ข้อมูลซึ่งกันและกัน, มีเป้าหมายร่วมกัน, และเดินไปในทิศทาง(Direction) เดียวกัน โดยทำงานข้ามหน่วยงานกัน (Cross Functional) ซึ่งอาจวัดผล (Measure) ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ และให้ความสำคัญแก่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัว (Surrounding) จากความไม่แน่นอน (Uncertainty) ในสถานการณ์ปัจจุบัน บริษัทต้องประเมินผลกระทบ (Impact assessment) กับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับตลาดและความสามารถในการแข่งขัน (Competitive ability) ของบริษัทบริษัท ควรปฏิบัติตามสมมุติฐาน (Assumption) ที่ว่า ตลาดการแข่งขันในอุตสาหกรรมดูแลสุขภาพ (Healthcare industry) ที่จะต้องเผชิญ (Confront) กับการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง (Fiercely) ได้ตลอดเวลา สังเกตได้จากในปัจจุบัน บริษัทด้านเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาท (Role) ในธุรกิจด้านดูแลสุขภาพมากขึ้น
- มุ่งเน้น (Focus) ไปที่การสร้างความพึงพอใจ (Satisfaction) ให้แก่ลูกค้าด้วยวิธีการ (Approach) ใหม่ๆ เมื่อต้องเผชิญกับความหลากหลาย (Variety) ทางการแข่งขัน ผู้บริหารต้องถามตัวเองว่า แนวคิดหรือโครงการใด ที่จะสามารถผลักดัน (Drive) ให้เกิดการทำงานแบบ Digitalization ได้จริง ควรจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ของแต่ละโครงการ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือในด้านการให้บริการลูกค้า ต้องปรับตัวให้ใกลชิด (Intimate) กับลูกคา้มากขึ้นกว่าที่เคยทำในอดีต เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและพฤติกรรม (Behavior) ที่เปลี่ยนแปลงไป บริษัทต้องมุ่งเน้นการปฏิบัติงาน (Operations) ทุกขั้นตอน (Procedure) เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
- ใช้ประโยชน์ (Harness) จากพันธมิตรทางธุรกิจ (Business alliance) โดยที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญแก่การสร้างระบบนิเวศน์ (Ecosystem) มากขึ้น เนื่องจากจะมีคู่ค้ารายใหม่ (New comer) เข้ามาในอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Experience) ทั้งทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology) จะเห็นได้จากบริษัทขนาดใหญ่ ในหลายๆ อุตสาหกรรม เริ่มเข้าไปร่วมมือกับกลุ่มบริษัทเกิดใหม่ทางเทคโนโลยี (Tech startup) เพื่อนำเทคโนโลยีมาผสมผสาน (Integrate) กับการดำเนินธุรกิจของตน ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ (Efficiency) มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเกิดรูปแบบ (Model) ในการทำธุรกิจใหม่ๆ อีกด้วย ภาคอุตสาหกรรมดูแลสุขภาพ อาจนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างรูปแบบ (Platform) ในการเก็บข้อมูลของลูกค้า (ผู้ป่วย) ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บจะถูกนำมาวิเคราะห์ (Analyze) ผู้ป่วย เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) และรักษาโรคให้ถูกต้องแม่นยำ (Precise) และมีประสิทธิผล (Effectiveness) มากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถให้การดูแลรักษาในแบบเฉพาะบุคคล (Personalized treatment) ได้อย่างรวดเร็ว (Rapidly) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดียิ่งขึ้น
แหล่งข้อมูล –
- http://www.ceos-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2564-1-1_1671003294.pdf [2025, January 17].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2025, January 17].