7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 40

ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดงานบุคลากรทางการแพทย์ (Medical staff)  เราสามารถเปลี่ยนเอกสารกระดาษ (Paper) มาเป็นระบบดิจิทัล (Digital) ได้เนื่องจากในอดีตบุคลากรจะบันทึกในกระดาษ และจัดเก็บไว้ในแฟ้ม (File) ต่างๆ ถ้าเราเปลี่ยนมาเป็น ระบบดิจิทัล ข้อมูลจะถูกเก็บ (Store) อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ (Efficient) มากขึ้น

ทำให้สามารถระบุได้ว่า ใครเป็นคนกรอก การแก้ไข (Editing) เกิดขึ้นเมื่อไร รวมถึงการเก็บข้อมูลที่มาก อย่างเช่น ข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่เกิดจนแก่ จะสามารถรวบรวมเพื่อให้ประโยชน์ในการวินิจฉัย (Diagnosis) ผู้ป่วย ได้อย่างมีประสิทธิผล (Effective) และข้อมูลครบถ้วน (Complete) มากขึ้น

สิ่งนี้ทางรัฐก็พยายามผลักดัน (Drive) กันอยู่เนื่องจากอยากให้ข้อมูลผู้ป่วยจัดทำเป็น 1 ชุดข้อมูล เพื่อว่าเมื่อเราไป โรงพยาบาลไหนก็สามารถที่จะเห็นข้อมูลชุดนี้ได้ โดยไม่ต้องเก็บข้อมูลผู้ป่วยใหม่และป้องกันการผิดพลาด (Error) รายละเอียดก็จะสามารถส่งต่อข้ามโรงพยาบาลในลักษณะเวชระเบียนเดียว (Single health record)

การวางแผนและบริหารธุรกิจจะง่ายขึ้น ชัดเจนขึ้นจากข้อมูลที่มีอยู่ เช่น จำนวนผู้ป่วยแต่ละวัน (Daily census), จำนวนนานาโรค, และค่าใช้จ่ายต่างๆ จะถูกเก็บในระบบดิจิทัล โดยสามารถนำมาผนวก (Append) เพื่อให้ผู้ประกอบการใช้วางแผนธุรกิจที่แม่นยำ (Accurate) มากขึ้น

ในทางปฏิบัติ อาจจะใช้ข้อมูลในอดีต (Historical data) มาใช้คาดการณ์ (Forecast) เพิ่มเติม เช่น วันจันทร์จะมีผู้รับบริการ (Service recipient) ประเภทโรคนี้เข้ามามาก เพื่อสามารถสร้างกลยุทธ์ (Strategy) มารองรับได้หรือแม้กระทั่ง ช่วงเวลาของปีมีโรคระบาด (Epidemic) อะไรบ้าง ก็จะสามารถวางแผนระบบยา (Drug) และระบบบุคลากรเพื่อรองรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันก็จะมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) ที่ให้ผู้ป่วย สามารถเข้าผ่านประตู (Portal) เพื่อดูข้อมูลประวัติการรักษาของตัวเองทั้งหมดได้ รวมไปถึงในอนาคตจะสามารถจองนัดหมาย (Appointment) ได้ด้วย รวมไปถึงระบบคิว (Queue) ที่ทำให้ผู้ป่วย ไม่ต้องไปนั่งรอ (Waiting) ที่แผนกนานๆ เพื่อช่วยลดเวลาและระบุเวลาที่ชัดเจนขึ้น

อันที่จริง ผู้รับบริการไม่รู้สึกแย่ที่ต้องรอ แต่ปัญหาคือ เขาต้องการทราบว่ารอเพราะอะไร และนานแค่ไหนมากกว่า ดังนั้นนี่คือประเด็นสำคัญ ที่เราจะเอาเทคโนโลยีมาเชื่อม (Link) จุดนัดด้วย อีกหนึ่งจุดที่เราพยายามจะใช้เทคโนโลยีในธุรกิจดูแลสุขภาพ ก็คือe-Payment เพื่อตอบโจทย์สังคมไร้เงินสด (Cashless society) ด้วย

จุดประสงค์ ก็เพื่อลดขั้นตอน (Step) และสร้างความสะดวก (Convenience) สบาย อีกทั้งยังเพื่อเป็นการระบุราคา (Pricing) เบื้องต้นให้ผู้รับบริการและการไม่ต้องรอคิวจ่ายเงิน ในเรื่องของการจ่ายยา (Dispensing) เรามักจะได้ข้อมูลยาตั้งแต่ที่พบแพทย์ ซึ่งบางครั้ง ผู้ป่วยอาจจะหลงลืมหรือกินยาไม่ตรงเวลา เทคโนโลยีก็จะเข้ามา ช่วยให้ข้อมูล (Information) ยาและสามารถแจ้งเตือน (Alert) ได้ด้วย

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of things: IoT) จะมีผลเข้ามาช่วยเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้งานติดตัว เช่นนาฬิกาอัจฉริยะ (Smart watch) ที่สามารถเข้ามาตรวจจับพฤติกรรม (Behavior) และการเคลื่อนไหว (Movement) ของผู้ป่วยได้ ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรทางแพทย์ในเรื่องการวัดผลผู้ป่วยที่ต้องติดตาม (Monitor) อาการต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น เพื่อเช็คว่า เขาออกกำลังกาย (Physical activity) บ่อยถี่ (Frequent) แค่ไหน หรือ ความดันโลหิต (Blood pressure) เป็นอย่างไร

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการดำเนินงานธุรกิจเอกซเรย์เคลื่อนที่ (Mobile x-ray) อันเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจของโรงพยาบาล

แหล่งข้อมูล

  1. http://www.ceos-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2564-1-1_1671003294.pdf [2024, September 13].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2024, September 13].