7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 39

แนวโน้ม (Trend) ธุรกิจดูแลสุขภราพ (Healthcare) ในอนาคต และการประยุกต์ใช้ (Application) เทคโนโลยี ในธุรกิจโรงพยาบาล (Hospital business) ช่วง 10 ปี (Decade) ที่ผ่านมา หลายๆ คนน่าจะเริ่มใช้บริการ (Service) หรือเครื่องมืออะไรใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน เช่น การซื้อของออนไลน์ (Online purchase), การเรียกแท็กซี่ออนไลน์ (Online cab), การสั่งอาหารออนไลน์ (Online ordering) เป็นต้น

โดยใช้ผ่านเครื่องมือชิ้นเดียว เช่น คอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถืออัจฉริยะ (Smart phone) ที่สามารถทำงานโดยรวมทุกอย่างไว้ด้วยกันเป็น “เบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว” (One-stop service) คนในสมัย 20 ถึง 30 ปีที่แล้วไม่มีทางนึกออก ซึ่งเป็นการเอาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital) เข้ามาประยุกต์ใช้วงการต่างๆ มีการพัฒนากันไปไกลพอควร

ในส่วนของอุตสาหกรรม (Industry) ธุรกิจสุขภาพ, สาธารณสุข (Public health), และวงการการแพทย์ (Medical circle) ซึ่งใน 10 ปี ที่แล้วกับ 10 ปีที่ผ่านมาก็มีการเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ตามที่พอจะเห็นกัน ก็ได้แก่ มีระบบ คอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการให้เร็วขึ้น มีระบบเข้ามาเสริม แต่ยังไม่ถูกแปลงโฉม (Transform) ขนาดนั้น

เรื่องที่จะเห็นได้ชัดเจนที่สุด ที่น่าจะเกิดขึ้นในการแพทย์ก็จะเป็นเรื่องการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการ (Process) ทำงาน ของบุคลากร (Staff) และกระบวนการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วย เช่น ตั้งแต่ก่อนเข้าโรงพยาบาล เราก็จะสามารถบอกอาการ สื่อสารได้ที่บ้าน ซึ่งทางโรงพยาบาลก็จะรับรู้ได้ว่า จะมีผู้ป่วยกี่คน มีอาการอย่างไรเข้ามาในแต่ละวัน (Daily census)

ทำให้ทางโรงพยาบาลบริการการจัดการบุคลากรได้ด้วยเรื่องสำคัญๆ ที่เห็นได้ชัดๆ เลยคือการคัดกรองตอนแรก (Initial screening) ที่ว่าผู้ป่วยมีสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือสิทธิบัตรทอง (Gold care) หรือมีประกันสุขภาพ (Health insurance) กลุ่มอะไรไหม เป็นของเอกชนยี่ห้ออะไร ซึ่งตรงนี้ทางบุคลากรก็ต้องมาคัดกรองก่อน ว่า เบิกได้ (Reimburse) หรือไม่ได้

ปัญหาเหล่านี้ทำให้เป็นเป็นคอขวด (Bottle-neck) ในระบบ ถ้าหากผู้ป่วยสามารถแจ้งสิทธิหรือคัดกรองเบื้องต้น ตั้งแต่ก่อนรับการรักษา ทางผู้ให้บริการ (Service provider) ก็จะสามารถคำนวนได้ด้วยว่า เบิกได้เท่าไร และอย่างไร ซึ่งกระทบต่อการเงิน (Financial impact) ด้วย ส่งผลให้ทั้งกระบวนการไหลของาน (Work flow) ราบลื่นมากขี้น

จากแต่เดิมที่ทำด้วยมือ ก็อาจจะมีข้อผิดพลาดของคน (Human error) เกิดขึ้น เราก็จะเปลี่ยนให้หุ่นยนต์ (Robot) หรือนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาทำแทน ที่ทำให้เร็วและแม่นยำกว่า การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแพทย์เพื่อวินิจฉัย (Medical diagnosis)นอกเหนือจากนี้ ก็ยังมีการเอาเทคโนโลยีมาช่วยบุคลากรทางการแพทย์ด้วย

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial intelligence: AI) ซึ่งก็คือ การใช้เทคโนโลยี มาวิเคราะห์หรือคาดการณ์ (Predict) สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น เมื่อเราเอา AI เข้ามาใช้ประโยชน์ในเรื่องของการวินิจฉัยโรค ก็จะสามารถบอกได้่ว่า ผู้ป่วยคนนั้นคนนี้ มีโอกาสเป็นโรคอะไรหรือสามรถพยากรณ์ ว่ามีสภาวะอะไรในอนาคต

ยกตัวอย่างายๆ ในเรื่องการถ่ายภาพด้วยรังสีเอ็กซ์ (X-ray) ที่เมื่อเราได้ผลมาแล้วทีมแพทย์ก็จะมาดูฟิล์มว่า ปอดมีฝ้าตรงไหน, มีลักษณะการแตกหัก (Fracture) ของกระดูก เป็นต้น การนำ AI เข้ามาช่วยจุดนี้ เทคโนโลยีจะช่วยลด (Alleviate) งานของบุคลากรได้มาก เพราะช่วยให้ เราวิเคราะห์จากข้อมูลผลฟิล์มนี้มีความผิดปกติ (Abnormal) อย่างไร

แต่สุดท้ายรังสีแพทย์ (Radiologist) ก็ต้องเข้ามายืนยัน (Confirm) เพื่อให้เกิดความชัดเจน (Clarity) ยิ่งข้น เพราะ AI ก็อาจจะไม่ถูกต้อง (Inaccurate) เสมอไป

แหล่งข้อมูล

  1. http://www.ceos-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2564-1-1_1671003294.pdf [2024, August 30].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2024, August 30].