7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 38

การตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางด้านรังสี (Radiologist) นิยมใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของช่องท้อง (Abdomen) ส่วนบนหรือส่วนล่าง, อัลตร้าซาวด์เต้านม (Breast), อัลตร้าซาวด์ระบบไหลเวียนหลอดเลือด (Vascular) และยังมีการประยุกต์ใช้ (Application) ต่างๆ ที่ทันสมัย

ตัวอย่างเช่น การโหลดภาพถ่ายจุดที่พบความผิดปกติจากโทรศัพท์มือถือผ่านซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) เข้าเครื่องอัลตราซาวด์ เพื่อช่วยให้แพทย์ระบุ (Identify) ตำแหน่ง (Position) ได้อย่างชัดเจนแม่นยำ (Precise)

เครื่องตรวจความหนาแน่นกระดูก (Bone mineral density) และกวาดส่อง (Scan) ส่วนประกอบทั่วทั้งร่างกาย (Whole-body composition) เป็นเครื่องที่นอกจากจะตรวจวัดความหนาแน่นกระดูกได้ทุกส่วนในร่างกายแล้ว ยังเป็นเครื่องที่สามารถวัดหาส่วนประกอบของน้ำ (Water), ไขมัน (Fat), และกล้ามเนื้อ (Muscle) ในร่างกายได้ ช่วยในการส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion) ด้านความงาม (Aesthetics) และการชะลอวัยได้ (Anti-aging)

ในอีกมิติหนึ่ง มีรายงานเชิงลึก (In-depth) จากเว็บไซต์ “มองตลาดอนาคต” (Future Market Insights) เกี่ยวการศึกษา (Study) ภาพรวม (Overall) ตลาดสินค้าประเภทอาหารฉายรังสี (Irradiation) ทั้งจากการฉายรังสีแกมมา (Gamma), รังสีเอกซ์ (X-ray), และอิเล็กตรอนบีม (Electron beam)

การศึกษานี้ครอบคลุม (Cover) ประเทศในภูมิภาค (Regional) ต่างๆ มากกว่า 30 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร (United Kingdom), เยอรมนี, ฝรั่งเศส, นอร์เวย์, สวีเดน, ซาอุดิอารเบีย, สหรับอาหรับเอมิเรสต์ (United Arab Emirates: UAE), เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น, และอื่นๆ

โดยในปี ค.ศ. 2023 ตลาดอาหารฉายรังสี มีมูลค่าถึง 312 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 11,000 ล้านบาท) และคาดว่า (Forecast) ตลาดจะโตขึ้น (Market growth) อย่างน้อยปีละ 6% โดยในปี ค.ศ. 2033 คาดว่าตลาดอาหารฉายรังสีจะมีมูลค่า 540.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 19,000 ล้านบาท)

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญ (Major factor) ที่จะทำให้ตลาดอาหารฉายรังสีโตขึ้นได้ ก็ต้องมาจากการผู้บริโภค (Consumer) ยอมรับ (Admit) ประโยชน์ (Benefit) อาหารฉายรังสี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยง (Avoid) ความเจ็บป่วย (Sickness) นอกจากนั้น ประโยชน์ของการฉายรังสี เป็นการถนอมอาหาร (Food preservation) วิธีหนึ่ง ที่ช่วยให้อาหารยังสามารถยืดอายุ (Life extension) การเก็บรักษาอาหารได้อีกด้วย

ส่งผลให้ธุรกิจทั่วโลกได้อานิสงส์ จากการยืดอายุผลิตภัณฑ์, ทำให้ปลอดเชื้อ (Sterile), และเป็นวิธีที่ได้รับการรับรอง (Certification) จากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ว่าปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบ (Impact) ต่อสุขภาพ (Health) ของประชาชน

สำหรับอาหารฉายรังสีฉายรังสีในประเทศไทยก็เริ่มมีจำหน่ายกันมากว่า 30 ปีแล้ว โดยการฉายรังสีสามารถฉายได้ ทั้งในอาหารสด (Fresh), อาหารแช่แข็ง (Frozen), อาหารแห้ง (Dry), อาหารสัตว์ (Pet food), และสมุนไพร (Herb) ถึงแม้การฉายรังสียังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก (Wide-spread) ในประเทศไทย แต่ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ก็แนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีในการนำผลิตภัณฑ์มารับบริการฉายรังสี

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.vimut.com/service-center/X-ray [2024, August 16].
  2. https://www.mhesi.go.th/index.php/all-media/infographic/10270-670517general.html [2024, August 16].