7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 29

สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear medicine) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้บริการด้วยมาตรฐาน (Standard) มีคุณภาพ (Quality) และคุณธรรม (Ethics) บริหารจัดการให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) สร้างเสริม (Promote) คุณภาพชีวิตและสำนึกที่ดีต่อสังคม (Social consciousness) ของบุคลากร, ผลิตผู้เชี่ยวชาญ, และองค์ความรู้ (Body of knowledge) เพื่อเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ (National) และนานาชาติ (International)

พันธกิจ (Mission)

สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีพันธกิจ ดังนี้

  • ให้บริการการตรวจและรักษาด้วยวิธีการทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อย่างมีมาตรฐาน ปลอดภัย (Safety) และสามารถอ้างอิง (Reference) ได้
  • ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ นักฟิสิกส์การแพทย์ (Physicist) และนักรังสีการแพทย์ (Radiologist)K ที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นบุคลากรที่จะนำความรู้ความสามารถ ไปให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ไปให้ความรู้และสอนบุคลากรทางการแพทย์ (Medical professional) อื่น
  • เป็นสถานที่ศึกษาฝึกอบรมและดูงานของบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งในและต่างประเทศ

รางวัลและความภาคภูมิใจศูนย์ (Reward and pride)

  1. ด้านงานวิชาการ (Academics)

เวชศาสตร์นิวเคลียร์ จุฬาฯ เป็นแกนนำในด้านศัลประสาทนิวเคลียร์ (Nuclear neurology) ของประเทศ โดยได้จัด National Training Course in Nuclear Neurology  2 ครั้งในปี พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2561, ตีพิมพ์ (Publish) หนังสือ “เวชศาสตร์นิวเคลียร์ในโรคสมอง” ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นหนังสือเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในโรคสมองเล่มแรกของประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังเป็นแกนนำในการจัดทำแนวเวชปฏิบัติ (Clinical guideline) การส่งตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในระบบประสาท ในนาม สมาคมเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear Medicine Association) ร่วมกับ สมาคมประสาทวิทยา (Association of Neurology), ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์ (Royal College of Nuro-surgeons) และสมาคมนักฟิสิกส์การแพทย์ (Medical Physicist Association) ในปี พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2564

เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์  ทางสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้ร่วมมือกับสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาในการจัดทำตำราชื่อ“รังสีวิทยา: เวชศาสตร์นิวเคลียร์ รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา” อันเป็นตำราภาษาไทยเล่มแรกๆ ที่กล่าวถึง 3 ด้านนี้ อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ (Comprehensive) ครอบคลุมโรคที่พบบ่อย เหมาะสำหรับนักศึกษาแพทย์หรือแพทย์ประจำบ้าน (Resident) ใช้ประกอบการเรียน ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์และบุคคลที่สนใจทั่วไป

แหล่งข้อมูล

  1. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/dept/%/ฝ่ายรังสีวิทยา [2024, March 27].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2024, March 27].