7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 28

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีบุรุษพยาบาลทำหน้าที่ให้สารกัมมันตรังสี (Radio-active substance) แก่ผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของรังสีแพทย์ (Radiologist) เช่น เครื่อง Up-tech และเครื่อง Scan นอกจากนี้ยังมีนักวิทยาศาสตร์ทำการตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) และช่วยดูแลงานสแกนภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear medicine)

ในปี พ.ศ. 2518 หน่วยเรดิโอไอโซโทปส์ (Isotope) ได้ย้ายมาอยู่ที่ตึกโปษยานนท์ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา งานด้านการศึกษาวิจัย (Research) และการเรียน-การสอนจึงสามารถขยายออกไปได้อย่างกว้างขวาง ส่วนงานด้านการรักษาพยาบาลนอกจากให้บริการแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์แล้ว ยังให้บริการแก่แพทย์จากสถาบันอื่นๆ อีกด้วย

แล้วยังมีการเริ่มงานห้องปฏิบัติการ Radio-immuno-assay และ Immuno-radio-metric assay ซึ่งให้บริการตรวจหาฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ (Tumor marker) และ (Serum iron) นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งห้องปลอดเชื้อ (Sterile room) เพื่อติดฉลากเม็ดเลือดแดง (Red-blood cell) และเม็ดเลือดขาว (White-blood cell) และยังใช้สำหรับเตรียมและผลิตสารเภสัชรังสี (Radio-pharmaceutical) ซึ่งสารเภสัชที่ผลิตได้เอง

เมื่อมีการให้บริการที่หลากหลายขึ้น จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “หน่วยเรดิโอไอโซโทปส์” (Radio-isotope) เป็น “สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์” (Nuclear medicine) เพื่อให้สามารถครอบคลุมวิทยาการที่หลากหลายมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2529 เริ่มมีนักรังสีเทคนิค (Radiologic technologist) มาปฏิบัติงานทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำเข้ามาใช้ในสาขาฯ

ในขณะนั้นคือเครื่อง SPECT (Single Photon Emission Computed Tomography) ซึ่งได้ติดตั้งในปี พ.ศ. 2531 บุคลากรต่างๆได้รับการสนับสนุนให้ไปฝึกอบรมในระดับชาติและนานาชาติ (IAEA fellowship) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนางานรังสีเทคนิคสำหรับงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ในปี พ.ศ. 2531 นั้นเองที่ ทางสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มเปิดหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทยพร้อมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งทำให้วิทยาการทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในประเทศไทยเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

เมื่องานบริการทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์มีมากขึ้น จึงมีความต้องการบุคลากรทางด้านนี้มากขึ้น ทางสาขาฯ ได้บรรจุแพทย์ที่จบการศึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์แทนแพทย์อาวุโสที่เกษียณไปอย่างสม่ำเสมอ สำหรับนักรังสีเทคนิคนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โรงเรียนรังสีเทคนิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาเพื่อเข้าศึกษาหลักสูตรรังสีเทคนิคเพื่อมาปฏิบัติงานในสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์เมื่อเรียนจบอย่างต่อเนื่องทุกปี

ทำให้สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีศักยภาพ (Potential) ทั้งการให้บริการ (Service) และทางด้านวิชาการ (Academics) ในงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ จนได้มาตรฐาน (Standard) เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยในปี พ.ศ. 2556 และปี พ.ศ. 2560 สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้รับการรับรองมาตรฐาน Quality Management Audits In Nuclear Medicine (QUANUM) ครั้งที่ 1 และ 2 ตามลำดับ จากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA)

แหล่งข้อมูล

  1. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/dept/%/ฝ่ายรังสีวิทยา [2024, March 13].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2024, March 13].