7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 27

เนื่องจากแผนกรังสีวิทยา (Radiology) ยังไม่มีสถานที่ จึงได้อาศัยส่วนหนึ่งของห้องชั้นล่าง ของโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ (Medical Technology School) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็นห้องปฏิบัติการไอโซโทปส์ (Isotope) ทั้งนี้ด้วยความเอื้อเฟื้อของคณะเทคนิคการแพทย์

นอกจากเอื้อเฟื้อสถานที่ แล้วยังได้ให้ยืมเครื่องชั่ง (Scaler) 1 เครื่อง ซึ่งเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเครื่องแก้วและอุปกรณ์อื่นๆในห้องปฏิบัติการอีกด้วย

งานเริ่มแรกของหน่วยไอโซโทปส์นี้ คือการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) และรักษาผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) ด้วยเรดิโอแอคตีฟไอโอดีน (Radio-active iodine) ตรวจหาสาเหตุโรคน้ำในช่องปอด (Pulmonary edema) โดยใช้เรดิโอแอคตีฟฟอสฟอรัส (Phosphorus) การใช้เรดิโอแอคตีฟโบรมีน (Bromine) ในการหาของเหลวนอกเซ็ลล์ (Extracellular fluid) ในคนปกติ และการหาการรอดชีวิตของเม็ดเลือดแดง (Red-blood cell survival) โดยใช้เรดิโอแอคตีฟโครเมี่ยม (Chromium)

กิจการได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทั้งในด้านบริการของโรงพยาบาล และด้านค้นคว้าวิจัย (Research) จึงจำเป็นต้องย้ายห้องปฏิบัติการจากชั้นล่างของตึกเทคนิคการแพทย์ไปอยู่ชั้น 3 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2503 ซึ่งมีพื้นที่มากขึ้นเป็นห้องปฏิบัติการและห้องทำงานของหน่วยไอโซโทปส์ 

ประมาณช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น Mr. J.D. Pearson แห่ง Guy’s Hospital นครลอนดอน ผู้เชี่ยวชาญการใช้สารเรดิโอแอคตีฟทางการแพทย์อีกผู้หนึ่งของทบวงการพลังงานปรมาณู (Atomic energy) ระหว่างชาติ ได้เข้ามาช่วยเหลือและให้คำแนะนำประจำอยู่ที่หน่วยไอโซโทปส์ เป็นเวลาประมาณ 1 ปี

ตลอดระยะเวลานี้ Mr. J.D. Pearson ได้ช่วยเหลือในด้านการปฏิบัติงาน แนะนำในการจัดหาเครื่องมือเพิ่มเติม ได้ให้การบรรยาย และสอนแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาฯ ในวิชาที่ว่าด้วยการใช้เรดิโอไอโซโทปส์ในทางการแพทย์ กิจการของหน่วยไอโซโทปส์ ได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

ทางแผนกรังสีวิทยาก็ได้รับงบประมาณ (Budget) จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อซื้อเครื่องมือใช้เพิ่มขึ้น ปี พ.ศ. 2506 ได้มีการเปิดตึกใหม่คือ ตึกสวัสดิ์-ล้อม โอสถานุเคราะห์ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง การเสด็จนิวัติกลับจากยุโรปและอเมริกาในปี 2503 ดังนั้นหน่วยเรดิโอไอโซโทปส์ จึงได้ย้ายมาอยู่ที่ตึกใหม่นี้

การที่มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ทำให้สามารถขยายงานทั้งด้านการตรวจรักษา และการวิจัยมากขึ้น ในปี 2507 จึงได้มีการใช้เรดิโอแอคตีฟโกลด์ (Gold) ชนิดเม็ดในการรักษามะเร็งของช่องปาก (X) กระเพาะอาหาร (Gastro-intestinal) และกระเพาะปัสสาวะ (Urinal bladder) และใช้เรดิโอแอคตีฟไอโอดีนในการรักษามะเร็งของต่อมไทรอยด์

ในเวลาเดียวกันนั้นเครื่อกวาดส่องเส้นตรง (Rectilinear scanner) เครื่องแรกของหน่วยก็ได้รับการติดตั้ง โดยใช้ในการตรวจไทรอยด์และตับเป็นส่วนใหญ่

แหล่งข้อมูล

  1. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/dept/%/ฝ่ายรังสีวิทยา [2024, February 28].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2024, February 28].