7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 26

สำหรับหน่วยเอกซเรย์ผู้ป่วยใน (In-patient) ให้บริการตรวจ X-ray ทั่วไป และอุลตร้าซาวด์ (Ultra-sound) ผู้ป่วยใน เอกซเรย์เคลื่อนย้าย (Portable) รวมถึงอัลตราซาวนด์หลอดเลือด (Color Doppler) ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2 โดยให้บริการตรวจเอกซเรย์ทั่วไปให้แก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency) ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 1

หน่วยรังสีร่วมรักษา 

ให้บริการตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) และรักษา และด้วยรังสีร่วมรักษา (Interventional) ทั้งระบบประสาท (Neurological syste) และลำตัว (Trunk)

หน่วยฟิสิกส์การแพทย์ 

ดูแล ตรวจสอบคุณภาพ (Quality) ของเครื่องมือการตรวจทางรังสีวิทยาในหน่วยงาน รวมทั้งการให้ความรู้และคำแนะนำด้านการป้องกัน (Protection) รังสีในบุคลากรทางการแพทย์ 

วัน/เวลา และสถานที่ให้บริการ - ทุกวัน

หน่วยไอโซโทปส์ (Isotope)

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้เริ่มก่อตั้งหน่วยงานนี้ขึ้น เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2502 ด้วยความช่วยเหลือของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างชาติ (International Atomic Energy Agency: IAEA) โดยส่ง Mr. Norman Veall แห่ง Guy’s Hospital นครลอนดอน เข้ามาปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในการใช้สารเรดิโอไอโซโทปส์ (Radio-Isotope) ในทางการแพทย์

Mr. Norman Veall ได้เป็นผู้แนะนำในการจัดหาเครื่องมือ (Modality), วางโครงงาน (Project), และให้ความช่วยเหลือ (Assistance) ในการปฏิบัติงานอยู่ชั่วระยะหนึ่ง เมื่อเริ่มงานตอนแรกนั้น ทางแผนกรังสีวิทยา (Radiology) ไม่มีงบประมาณ (Budget) สำหรับตั้งหน่วยไอโซโทปส์เลย

ดังนั้น โอรสและธิดา ของ ม.ร.ว. โต จิตรพงศ์ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้บริจาคเงิน (Donation) ให้ซื้อเครื่องมือที่จำเป็น (Necessary) สำหรับปฏิบัติงานไอโซโทปส์ ดังนี้

(1) อุปกรณ์ตรวจวัด (Radiation monitor) ที่ประกอบด้วยผลึก (Crystall)

2) เครื่องวัดรังสีเบต้าจากตัวอย่างที่เป็นของเหลว (Liquid) และ

3) ขาตั้ง (Stand) สำหรับอุปกรณ์ตรวจวัด

แหล่งข้อมูล

  1. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/dept/%/ฝ่ายรังสีวิทยา [2024, February 14].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2024, February 14].