8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 36

นอกจากนี้ยังรวมถึงการป้องกัน (Prevention), การซ่อมแซม (Repair), และการฟื้นฟู (Rehabilitation) ความเสื่อมสภาพ (Deterioration) ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด (Physical therapy) ด้วยการใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์ (Instrument-equipment) ทางกายภาพบำบัดที่ทันสมัย (Sophisticated) และดำเนินการโดยนักวิชาชีพ (Professional) กายภาพบำบัด

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ธุรกิจคลินิกกายภาพบำบัดเอกชน (Private) มีการขยายตัว (Expansion) อย่างรวดเร็ว และมีจำนวนกว่า 400 แห่งทั่วประเทศไทย โดยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเป็นเมือง (Urban) หรือมีความเจริญทางเศรษฐกิจ (Economy) จึงเห็นโอกาสทางการตลาด (Marketing opportunity) ของคลินิกกายภาพบำบัดและช่องว่าง (Gap) ของธุรกิจสุขภาพในทางนวด (Massage therapy) บำบัดรักษา เมื่อเพิ่มมิติทางด้านความสวยงาม (Aesthetics) และความทันสมัยของเครื่องมือ-อุปกรณ์

การยกระดับคลินิกกายภาพ ให้มีการผสมผสาน (Inter-weave) ความเป็นธุรกิจด้านสุขภาพกับภาพลักษณ์ (Image) ที่เป็นสถานที่บำบัดรักษา โดยมุ่งเน้นตลาดคนรุ่นใหม่ กล่าวคือการเจาะตลาด (Market penetration) 2 กลุ่ม อันได้แก่

  • กลุ่มคนทำงานในสำนักงาน (Office worker) ที่มีกลุ่มอาการสำนักงาน (Office syndrome) และ
  • กลุ่มผู้ออกกาลังกายแบบสมัครเล่น (Amateur) ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ)

โดยเฉพาะวิถีการใช้ชีวิต (Life-style) ของคนรุ่นใหม่ที่หันมาเล่นกีฬา เช่น การวิ่งระยะทางไกล (Marathon), ตีกอล์ฟ (Golf), หรือ ยกน้ำหนัก (Weight-lifting) ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เกิดธุรกิจยี่ห้อ Physio Wellness โดยเป็นสถานประกอบการคลินิกกายภาพบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย

ธุรกิจดังกล่าวใช้รูปแบบการบำบัดรักษาตามหลักของศาสตร์กายภาพบำบัด อันได้แก่ การเคลื่อนไหว (Movement), การนวด (Massage), การดัด (Bending), การดึง (Pulling), การออกกำลังกาย (Exercise) เพื่อการรักษา (Treatment) และ การวินิจฉัยด้วยไฟฟ้า (Electro-diagnosis) เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีตกแต่งภายใน (Interior decoration) ให้เป็นคลินิกที่มีความทันสมัย, ใช้หัวเรื่อง (Theme), และระดับสี (Tone) ไปในทางสุขภาพ ให้อารมณ์สุนทรียะ (Aesthetics), รู้สึกผ่อนคลาย (Relaxation), ตลอดจนวางแผนสรรหาเทคโนโลยี รวมทั้งซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการติดตาม (Monitor), ส่งต่อ (Transmit), และเก็บ (Store) ข้อมูลการรักษา

ทั้งนี้ในการทำธุรกิจคลินิกกายภาพบำบัดเอกชนจำเป็นต้องใช้เงินในการลงทุน (Investment) และทรัพยากร (Resource) ต่างๆ เป็นจำนวนมากในการปฏิบัติงาน (Operation) รวมถึงการวางแผนด้านบุคลากร (Staff planning) เพื่อให้มีทักษะ (Skill) การให้บริการที่มีคุณภาพ (Quality)

เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปตามทิศทาง (Direction) ที่กำหนดไว้ โดยไม่มีปัญหาด้านการเงิน จึงต้องวางแผนด้านเงินทุนหมุนเวียน (Current capital), แผนการตลาด, และแผนปฏิบัติการอย่างรอบคอบ โดยจะใช้พื้นที่นำร่องในยานรัชโยธิน-ลาดพร้าว-จตุจักร เป็นโครงการแรก

เป้าหมาย (Goal) ของแผนการดำเนินการในระยะแรก (Initial stage) ต้องการทำการตลาดให้เป็นที่รู้จัก (Recognize), มีชื่อเสียง (Famous), และถูกบอกต่อ (Words of mouth) ในแง่ของการเป็นคลินิกกายภาพบำบัดแนวใหม่ (New approach) ที่ตอบสนองความต้องการ (Deman) และมีภาพลักษณ์เป็นคลินิกการบำบัด, รักษา, และฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ที่มีคุณภาพทั้งในเรื่องของการบำบัดรักษาและการให้บริการ (Service)

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4916/1/TP%20EM.004%202566.pdf [2024, July 20].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Physical_medicine_and_rehabilitation [2024, July 20].