8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 35

ในธุรกิจสุขภาพที่ให้บริการด้านกายภาพและการบำบัดฟื้นฟู (Physical rehabilitation) พบว่า ตลาดทั่วโลก (Global market) มีมูลค่า 117.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4,116 พันล้านบาท) ณ สิ้นปี พ.ศ. 2564 และคาดว่าจะมีการเติบโตเฉลี่ย (Average growth) อยู่ที่ 4% ในช่วง 10 ปี ข้างหน้า ซึ่งบ่งบอกถึงการเติบโตของตลาดที่มีแนวโน้ม (Trend) ดี

เมื่อวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry analysis) โดยละเอียดแล้ว พบข้อมูลจาก Physical Therapy Services Market Outlook (ค.ศ. 2022 - ค.ศ. 2032) บ่งชี้ว่า มีความต้องการใช้บริการกายภาพบำบัดที่เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าตลาด 181.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.34 ล้านล้านบาท) ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2575

ข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจในปี พ.ศ. 2563 พบว่า ธุรกิจสุขภาพของไทย มีมูลค่าตลาด (Market value) อยู่ที่ 65,000 ล้านบาท (คาดว่าปี พ.ศ. 2564 มูลค่าตลาดรวมโตขึ้น 6.30% โดยมาจากแนวโน้มของสุขภาวะสมบูรณ์ (Wellness) เมื่อเจาะจง (Specific) ไปที่ธุรกิจเพื่อสุขภาพด้านคลินิกที่ให้บริการด้านกายภาพบำบัด (Physical therapy) พบว่ามีการเติบโตขึ้นอย่างมาก

สาเหตุมาจากการรักษาทางกายภาพบำบัดนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในโรงพยาบาล แต่ยังมีความต้องการ (Demand) นักกายภาพบำบัด (Physical therapy) จำนวนมากตามคลินิกภาคเอกชน (Private clinic) ซึ่งส่วนใหญ่มักกระจุกตัว (Concentrate) อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล (Bangkok Metropolis) รวมถึงจังหวัดหัวเมืองขนาดใหญ่

ในส่วนมูลค่าของตลาดของธุรกิจคลินิกายภาพบำบัดในประเทศไทยนั้น ยังไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้อย่างชัดเจน มีเพียงข้อมูลจากธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวม 33,574 ล้านบาท เติบโตขยายตัว +8%

หากกล่าวถึงการทำกายภาพบำบัด หลายคนคงนึกถึงการทำกายภาพให้กับผู้สูงอายุ (Elderly) หรือผู้ป่วยติดเตียง (Bed-ridden patient) อยู่เสมอ แต่ในทางความจริงแล้ว การทำกายภาพบำบัดไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ 2 กลุ่มดังกล่าว อย่างที่หลายคนเข้าใจเพราะในปัจจุบันเอง พนักงานในวัยทำงาน ก็มีกลุ่มอาการสำนักงาน (Office syndromes) และการเจ็บป่วยทางกายได้

ดังนั้น จึงต้องเข้ารับบริการกายภาพบำบัดจากอาการดังกล่าว รวมถึงบุคคลที่บาดเจ็บจากการออกกำลังกายด้วย เนื่องด้วยแนวโน้ม (Trend) ที่สนใจในสุขภาพ (Health consciousness) กำลังได้รับความนิยม (Popular) ในกลุ่มคนที่มีวิถีใช้ชีวิต (Life style) ดูแลรูปร่าง (Shape) ทำให้คนส่วนใหญ่หันมาดูร่างกายและรักษารูปร่าง โดยเล่นกีฬา (Sport) หรือออกกำลังกาย (Physical activity) ที่ตัวเองชอบ

แต่เมื่อการออกกำลังกายนั้น อาจส่งผลให้มีความเสี่ยง (Risk) ได้รับการบาดเจ็บอยู่ (Injury) ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้เกิดอาการเรื้อรัง (Chronic) ซึ่งหากอาการเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจมีอาการแย่ลง (Deteriorate) จนส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตได้

ปัจจุบันสถานที่รับการบริการด้านกายภาพบำบัดและการฟื้นฟู ไม่ได้จำกัด (Limit) อยู่ที่ โรงพยาบาลอีกต่อไปแล้ว มีคลินิกรักษาจำนวนมากได้เปิดขึ้น เพื่อรองรับความต้องการ (Demand) ของผู้เข้ารับบริการ ข้อได้เปรียบ (Advantage) ของโรงพยาบาลคือ อุปกรณ์ที่ครบครัน และเบิกสิทธิ์ประกันสุขภาพ (Health insurance) หรือ สวัสดิการ (Welfare) ได้ แต่ต้องแลกมาด้วยการรอคิวที่นานและกรอบเวลาทำการ

ด้วยเหตุนี้จึงมีสถานประกอบการคลินิกกายภาพำบัดเปิดขึ้นมากมาย เพื่อรองรับปริมาณ (Quantity) ผู้เข้ารับบริการ คลินิกกายภาพบำบัดเอกชน ถือเป็นสถานพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพแก่ผู้ป่วย โดยให้บริการเกี่ยวกับ การตรวจประเมิน (Examination), การวินิจฉัย (Diagnosis), การบำบัดหรือรักษาความบกพร่องของร่างกาย 

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4916/1/TP%20EM.004%202566.pdf [2024, July 6].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Physical_medicine_and_rehabilitation [2024, July 6].