8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 13

การให้บริการพื้นฟูผู้พิการแขน–ขา (Limb) ขาด แบบผู้ป่วยนอก (Out-patient) และแบบผู้ป่วยใน (In-patient) ดังต่อไปนี้

  1. การเตรียมความพร้อม (Preparation) ผู้ป่วยก่อนเข้ารับการทำกายอุปกรณ์เทียม (Prosthesis) ในผู้ป่วยที่ยังไม่พร้อม(Pre-prosthesis training) เช่น ผู้ป่วยที่แผลท่ยังไม่หาย หรือผู้ป่วยที่ยังมีอาการบวมของตอแขนหรือตอขา
  2. การฝึกเดินกับขาเทียมในผู้ป่วยที่ได้รับขาเทียม (Prosthetic leg) แล้ว และการฝึกการใช้แขนเทียม (Prosthetic arm) หลังจากได้รับแขนเทียมแบบใช้งานได้(Post-prosthesis training) 

ผู้ป่วยจะได้รับบริการหลังจากได้รับการส่งต่อ (Refer) จากคลินิกกายอุปกรณ์ (Prosthetics clinic) การประเมินการใช้กายอุปกรณ์เสริม (Orthotics) และกายอุปกรณ์เทียม (Prosthetic orthotics) รวมทั้งการประเมินการใช้ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ (Allied health professional) ในผู้ป่วยที่มาทดลองกายอุปกรณ์

ในขั้นตอนการรับบริการภายในนั้น ผู้ป่วยจะได้รับใบนัด (Appointment) หลังจากรับบริการหล่อแบบ (Mold) เพื่อทำกายอุปกรณ์เสริมและกายอุปกรณ์เทียมเรียบร้อยแล้ว สถาบันสิรินธรได้นำกิจกรรม, วิธีการ, และอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาเป็นวิธีการในการบำบัด ในด้านต่างๆ ดัง ตัวอย่างบริการต่อไปนี้

  • การฝึกทักษะการทำงานของมือ (Hand function)
  • การฝึกความสามารถด้านการรับรู้และการเรียนรู้ (Perception and learning)
  • การฝึกความสามารถด้านความคิดความเข้าใจ (Cognitive function)
  • การฝึกทักษะกล้ามเนื้อใบหน้าและช่องปาก (Oro-facial motor skill function)
  • การฝึกการกระตุ้นการดูด, การเคี้ยว, และการกลืน (Feeding & swallowing techniques)
  • การเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกพูด (Pre-speech)
  • การฝึกการใช้แขนและมือเทียม (Prosthetic upper extremities)
  • การออกแบบ, ดัดแปลง, และจัดทำอุปกรณ์ประคองและอุปกรณ์ดาม (Splints and /or fabrication)
  • การฝึกการใช้เครื่องดามแขนและมือ (Orthotic upper extremities)
  • การฝึกทักษะการดูแลตนเองและกิจวัตรประจำวัน (Activities of daily living)
  • การออกแบบ, ดัดแปลง, และจัดทำอุปกรณ์เครื่องช่วยในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Assistive and adaptive devices design and/or fabrication)
  • การออกแบบ, ดัดแปลง, และปรับปรุงสภาพบ้าน, โรงเรียน, ที่ทำงาน (Home-school, work-place modification and adaptation)
  • การให้คำปรึกษาทางกิจกรรมบำบัด (Occupational therapy counseling)
  • บริการเชิงรุก (Pro-active service) อันได้แก่ การออกหน่วยบริการเคลื่อนที่และให้การเผยแพร่ความรู้ทางกิจกรรมบำบัดและการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่บุคลากรสาธารณสุข รวมถึงประชาชนทั่วไป

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.snmri.go.th/history/ [2023, August 3].
  2. http://web1.dep.go.th/sites/default/files/files/news/2.pdf [2023, August 3].