8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 12

กลุ่มผู้รับบริการสำหรับผู้ป่วยนอก 

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบกระดูก (Orthopedics) และกล้ามเนื้อ (Muscle) เช่น อาการปวดและข้อยึดติด
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบประสาท (Neurological) เช่น อัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบ, แตก, หรือ ตัน
  3. ผู้ป่วยที่มีภาวะไขสันหลังบาดเจ็บ (Injured spinal) เช่น อาการอ่อนแรงของแขนและขา หรือ ขาทั้งสองข้าง
  4. ผู้ป่วยเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า (Late development)
  5. ผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะ (Organ) แขน-ขาขาด ตั้งแต่กำเนิดและภายหลัง

งานกายภาพบำบัด ให้บริการตรวจรักษา, ส่งเสริม, ป้องกัน, และฟื้นฟู (Rehabilitate) สมรรถภาพแก่ผู้ป่วยและคนพิการ (Disabled) และประชาชนทั่วไป ด้วยเครื่องมือและวิธีการทางกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยบรรลุเป้าหมายการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้านการเคลื่อนไหว (Movement) ตามสภาพของปัญหาในแต่ละกลุ่มโรคและตามระดับความพิการ

เพื่อให้ผู้ป่วยและคนพิการสามารถกลับ (Return) สู่สภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด ตามศักยภาพ (Potential) ของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายในการพัฒนาหน่วยงาน ให้ตอบสนองต่อการเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Center of excellence) ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ระดับสากล (International) ในด้านบริการระดับตติยภูมิ (Tertiary) และสูงกว่า (Super-tertiary) และพัฒนาการวิจัย (Research) ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ 

สรุปแล้ว กลุ่มผู้รับบริการคลินิกกายภาพบำบัด เป็นกลุ่มผู้ป่วยและคนพิการที่มารับบริการหลักในหน่วยงาน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มโรคคือ โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อโรคทางระบบประสาท และ ผู้ที่มีปัญหาบกพร่องทางการเคลื่อนไหว

หน่วยงานกายภาพบำบัดใน คลินิกกายอุปกรณ์ (Prosthetics) เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านกายภาพบำบัดแก่ผู้ป่วยที่มาขอรับบริการกายอุปกรณ์เสริมและกายอุปกรณ์เทียม ในเรื่องการตรวจประเมินความพร้อมและเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายอุปกรณ์เสริมและกายอุปกรณ์เทียมที่ผู้ป่วยต้องใช้ ก่อนการเข้ารับกายอุปกรณ์เสริมและกายอุปกรณ์เทียม รวมทั้งการฝึกผู้ป่วยที่ได้รับกายอุปกรณ์เทียม โดยเฉพาะผู้ป่วยขาขาด ให้สามารถเดินได้โดยใช้ขาเทียมที่ได้รับ เป็นต้น

กลุ่มผู้รับบริกา ผู้ป่วยจะได้รับบริการหลังจากได้รับการส่งต่อ (Refer) จากงานบริการผู้ป่วยนอก (OPD)

  1. ผู้พิการที่ขอรับกายอุปกรณ์เทียมในคลินิกกายอุปกรณ์ เช่น การขอรับ แขน–ขา เทียม ในผู้พิการแขน–ขาขาด หรือ ผู้พิการแต่กำเนิด (Congenital) การขอรับเท้าเสริมส่วนหน้าในผู้ป่วยที่ถูกตัดเท้าบางส่วน
  1. ผู้ป่วยที่ขอรับกายอุปกรณ์เสริมในคลินิกกายอุปกรณ์ เช่น การขอรับพลาสติกดามขากันข้อเท้าตก(Ankle foot Orthosis: AFO) ในผู้ป่วยเด็กสมองพิการ หรือผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก (Hemiplegia) หรือการขอรับ โลหะหรือพลาสติกดามขาชนิดยาวมีข้อเข่าล็อคได้ในผู้ป่วยโปลิโอ (Polio) หรือผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่าง (Spinal cord injury: SCI) รวมทั้งการขอรับพลาสติกดามหลังคดในผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) เป็นต้น 

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.snmri.go.th/history/ [2023, August 3].
  2. http://web1.dep.go.th/sites/default/files/files/news/2.pdf [2023, August 3].