8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 11
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 21 กรกฎาคม 2566
- Tweet
ลักษณะบริการของสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical rehabilitation) ก็คือ มีจำนวนเตียงผู้ป่วยใน (Inpatient) ที่เปิดให้บริการ 48 เตียง โดยเป็นโรงพยาบาลที่ให้การดูแลระดับตติยภูมิ (Tertiary care)
สถาบันฯ ให้บริการที่พักเพื่อผู้ป่วยหรือผู้พิการ (Disable) ที่ยังมีศักยภาพ (Potential) ให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเข้มข้น (Intensive) จากสหวิชาชีพ (Allied health) และให้ญาติมีโอกาสได้เรียนรู้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นอย่างถูกวิธี ถูกขั้นตอนเหมาะสมกับแต่ละราย จากบุคลากรของสถาบันฯ ที่มิใช่การพักฟื้นหรือการพยาบาลดูแลระยะยาว (Long-term care)
กลุ่มผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ป่วยหรือผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่เป็นสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์-อัมพาต [Cardio-vascular accident] หรืออัมพาตครึ่งซีก [Hemiplegia]), ไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal injury), เด็กสมองพิการ (Cerebral palsy), ผู้พิการแขนขาขาด (Amputation), และผู้ป่วยที่มีอาการปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อ, เส้นเอ็น, และข้อต่อ (Musculoskeletal pain)
ขั้นตอนการรับบริการภายใน ดังนี้
- พบแพทย์ในเวลาราชการที่บริการผู้ป่วยนอกเพื่อตรวจประเมินศักยภาพของผู้ป่วยหรือผู้พิการ ว่าเหมาะสม (Appropriate) หรือไม่ หากยังไม่เหมาะสม อาจให้โปรแกรมการฝึกที่บ้าน (Home exercise)
- หากมีที่พักว่าง (Vacant) สามารถเข้าพักได้ในวันนั้น
- หากไม่มีจะนัดหมาย (Appointment) หรือติดต่อกลับในภายหลัง
ข้อควรปฏิบัติก่อนเข้ารับบริการ
- ต้องเตรียมญาติหรือผู้ดูแลอยู่ด้วยตลอด 24 ชั่วโมง โดยผู้เฝ้า ไม่ควรเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือผู้สูงอายุ
- เตรียมยาประจำของผู้ป่วยมาอย่างน้อย 42 วัน (ขณะนอนโรงพยาบาลจะไม่อนุญาตให้ไปตรวจตามนัดเดิม)
- เตรียมเอกสารสิทธิ (Claim document) การรักษาต่างๆ ของผู้ป่วย
หมายเหตุ :
- กรณีที่ผู้ป่วยหรือผู้พิการ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จำเป็นต้องมีญาติหรือผู้ดูแลอยู่ด้วยตลอด 24 ชั่วโมง
- ญาติหรือผู้ดูแลของหอผู้ป่วยหญิง (เตียงสามัญ) ต้องเป็นเพศหญิงเท่านั้น
ส่วนงานบริการผู้ป่วยนอก (Outpatient) เป็นหน่วยบริการทางคลินิกที่ให้บริการตรวจรักษา (Examine), วินิจฉัย (Diagnose), และประเมิน (Assess) ความพิการทางด้านร่างกายเพื่อรับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยแต่ละประเภท
เวลาทำการ
• สำหรับคลินิกในเวลา วันจันทร์–วันศุกร์ ระหว่างเวลา 07.30 น.–12.00 น.
• ส่วนคลินิกนอกเวลา วันจันทร์–วันศุกร์ ระหว่าง เวลา 16.30–20.00 น. วันเสาร์–อาทิตย์ระหว่าง เวลา 08.00–12.00 น.
แหล่งข้อมูล –
- https://www.snmri.go.th/history/ [2023, July 20].
- http://web1.dep.go.th/sites/default/files/files/news/2.pdf [2023, July 20].