3. ตลาดยา – ตอนที่ 8

ตลาดยา

ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ในอุตสาหกรรมยา แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม  ดังนี้

กลุ่มที่ 1 หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่

  • องค์การเภสัชกรรม (Government Pharmaceutical Organization: GPO)ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตยาหลักและยานำเข้าบางประเภท โดยเฉพาะยารักษาโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCD) เรื้อรัง เช่น ยาลดไขมัน (Cholesterol), ยารักษาโรคเบาหวาน (Diabetes), ฯลฯ เพื่อจำหน่ายในราคาถูก
  • โรงงานเภสัชกรรมทหารซึ่งเน้นผลิตยาชื่อสามัญ (Generic drug) จำหน่ายในประเทศทดแทน (Substitute) ยานำเข้า ซึ่งภายใต้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระบุให้ GPO อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับผู้ประกอบการเอกชน ในอุตสาหกรรมยา ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาด (Market competition) มากขึ้นระหว่าง GPO กับผู้ประกอบการเอกชน อันรวมไปถึงบริษัทต่างชาติที่ผลิตยา ในราคาถูกออกมาจำหน่าย เช่น จีนและอินเดีย 

กลุ่มที่ 2 บริษัทยาภาคเอกชน ซึ่งแบ่งเป็น 

  • บริษัทยาของผู้ประกอบการไทยซึ่งผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนไทย ส่วนมากลิตยาชื่อสามัญทั่วไปและมีราคาไม่สูงนัก อันได้แก่ บจก. เบอร์ลินฟาร์มาซูติคอลอินดัสตรี, บจก. ไทยนครพัฒนา บจก. สยามฟาร์มาซูติคอล บจก. ไบโอฟาร์มเคมิคอล และ บจก. สยามเภสัช เป็นต้น บางรายอาจเป็นผู้รับจ้างผลิต (Contract manufacturer) เช่น บจก. ไบโอแลป, บจก. เมก้าไลฟ์ไซแอ็นซ์, และ บจก. โอลิค (= OLIC [Overseas Licensing Investment Corporation] ประเทศไทย เป็นต้น
  • บริษัทยาข้ามชาติ (Multi-national companies: MNCs)ซึ่งเป็นกิจการที่มีถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ บางรายเป็นตัวแทนนำเข้า (Import distributor) ยาต้นตำรับ (Original drug) หรือยาจดสิทธิบัตร (Patented drug) ซึ่งจำหน่ายยาในราคาค่อนข้างสูง และบางรายเข้ามาตั้งโรงงานผลิตยาสำเร็จรูปในไทย เช่น บจก. Pfizer, บจก. Novartis, บจก. GlaxoSmithKline, บจก. Sanofi-Aventis, บจก Janssen-Cilag, และ บจก. Roche เป็นต้น สำหรับปี พ.ศ. 2564 บจก. AstraZeneca มีสัดส่วนรายได้สูงสุด เนื่องจากได้ประโยชน์จากการผลิตและนำเข้าวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19  

ประเทศไทยมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาในประเทศ 2 ฉบับ อันได้แก่ 

  • พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522ซึ่งเป็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) ที่คุ้มครองสิทธิ์ผู้คิดค้นยา โดยมีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหน่วยงานรับจดสิทธิบัตร และ
  • พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการผลิต, นำเข้า, และจำหน่ายยาในประเทศ โดยมีสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานกำกับ, ดูแล, และรับผิดชอบในการออกใบอนุญาต (License) รวมถึงขึ้นทะเบียน (Registration) ยาที่จะจำหน่ายในตลาดในประเทศ (Domestic market)

แหล่งข้อมูล

  1. https://workpointtoday.com/medicine-industry/ [2023, June 3].
  2. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/chemicals/phamaceuticals/io/io-pharmaceuticals-2023-2025 [2023, June 3].