3. ตลาดยา – ตอนที่ 47
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 17 ธันวาคม 2567
- Tweet
ดังนั้น เมียนมาเป็นตลาดที่มีศักยภาพ (Potential) สูงสำหรับผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ทั้งบริษัทในท้องถิ่น (Local) และบริษัทต่างชาติ (Foreigner) ที่ต้องการเข้ามาเจาะตลาด (Market penetration) ด้านสาธารณสุข (Public health) และอุตสาหกรรม (Industry) ที่เกี่ยวข้องด้วย (Related)
รัฐบาลเมียนมาพยายามผลักดัน (Drive) และส่งเสริม (Promote) การพัฒนาด้านคุณภาพของโรงพยาบาลและคลินิกในท้องถิ่น ให้ดีขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล (International standard) ส่งผลทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross national product: GDP) ด้านสาธารณูปโภค (Infrastructure) ทางการแพทย์ล่าสุดขยายตัว +2.1%
ทั้งนี้ เกิดจากอุปสงค์ (Demand) ของผลิตภัณฑ์คุณภาพด้านเภสัชกรรม (Quality pharmaceuticals), อุปกรณ์การแพทย์ (Medical equipment), และวัตถุดิบทางธรรมชาติ (Natural raw material) และเชื่อว่าตัวเลขการเติบโตดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuous growth) เนื่องจากอุตสาหกรรมเภสัชกรรมของประเทศเมียนมายังมีการพัฒนาไม่มากนัก (Underdeveloped)
โดยเฉพาะวัตถุดิบในประเทศ มีเพียง 20% ของความต้องการทั้งหมดจากโรงงานเภสัชกรรม (Pharmaceutical plant) ของเมียนมา ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุม (Control) ของกระทรวงอุตสาหกรรม (Minister of Industry) โดยโรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตยาเม็ด (Tablet), ยาแคปซูล (Capsule), ยาฉีด (Injection), แป้ง (Powder) และโลชั่น (Lotion) เพื่อทดแทนการนำเข้า (Import substitution)
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ส่วนมากที่จำหน่ายในเมียนมานั้นนำเข้ามาจากต่างประเทศ (Import) เช่น อินเดีย, บังคลาเทศ, จีน, อินโดนีเซีย, ปากีสถาน, ไทย, และเวียดนาม ตัวเลขการวิจัย (Research) ระบุว่า ยอดการนำเข้ายาทั้งหมดคิดเป็น 85% ของตลาดยา (Pharmaceutical market) โดยที่ อินเดียมีส่วนแบ่งตลาด (Market share) ประมาณ 40 ถึง 45% โดยปัจจุบันมีการนำเข้ายาในเมียนมากว่า 5,000 ชนิด
นอกจากนี้รัฐบาลยังมุ่งมั่น (Determined) ที่จะเพิ่มการใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Health expenditure) ซึ่งรวมอุปกรณ์ (Equipment) และเครื่องมือทางการแพทย์ (Medical device), ยา (Drug), และเวชภัณฑ์ (Medical supplies) อันจะส่งผลให้ (Result) มีความต้องการยาเพิ่มขึ้นในตลาดเมียนมา
โอกาสทางธุรกิจ
เนื่องจากขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration: FDA) ของประทศไทยได้รับการรับรองเป็นสมาชิก PIC/S (Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme) ลำดับที่ 49 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการยกระดับ (Raise) มาตรฐานระบบการตรวจและหน่วยตรวจประเมิน GMP (= Good manufacturing practice: GMP) ด้านยาให้เป็นที่ยอมรับ (Accepted) ในระดับสากล
อีกทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer protection) ด้านยา, สร้างความมั่นใจ (Confidence) ในคุณภาพมาตรฐานของยาที่ผลิตในประเทศให้แก่ผู้ใช้ยา, รวมถึงเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตยา (Pharmaceutical production) ให้มีมาตรฐานทัดเทียมกับนานาชาติ (International)
แหล่งข้อมูล –
- https://www.ditp.go.th/post/128513 [2024, December 16].
- https://www.trade.gov/country-commercial-guides/burma-market-overview [2024, December 16].