3. ตลาดยา – ตอนที่ 46

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รายงาน 

สถานการณ์ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ (ยารักษาโรค) ในตลาดเมียนมาและโอกาสของผู้ประกอบการไทย

ในปี พ.ศ. 2566 ตลาดยา (Pharmaceutical market) ของเมียนมา (Myanmar) มีมูลค่าประมาณ 286.10 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 10,013.50 บาท) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของยาสามัญ (Generic medicine) ที่นำเข้า (Import) จากประเทศอินเดีย และการจำหน่าย (Distribution) ยากว่า 60% นั้นส่วนใหญ่จำหน่ายอยู่ที่ 2 เมืองใหญ่ กล่าวคือ ย่างกุ้ง (Yangon) กับมัณฑะเลย์ (Mandalay)

การรักษาโดยยาแผนโบราณ (Traditional medicine) ยังคงเป็นที่นิยม (Popular) และรักษามาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในชนบท (Rural) หรือในพื้นที่ห่างไกล (Remote) ที่ยังไม่มียาแผนตะวันตก (Modern medicine) โดยที่สมุนไพร (Herb) และพืชสมุนไพรสามารถพบได้ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ (Fertile soil) และสามารถนำมาใช้รักษา (Cure) โรคได้โดยมีราคาไม่แพง (Inexpensive)

จากการสำรวจ (Survey) ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) พบว่า เกือบ 75% ของประชากร (Population) เมียนมายังคงใช้ยาแผนโบราณเพื่อการรักษาโรค อย่างไรก็ตามอุปสงค์ (Demand) ในการเข้ารับบริการด้านการแพทย์ในเมียนมานั้น ยังมีไม่มากนัก

ส่วนคนรวยในประเทศมักจะเดินทางไปต่างประเทศ (Overseas) เพื่อตรวจสุขภาพ (Physical check-up) ไปจนถึงการผ่าตัดหัวใจ (Cardio surgery) และรักษาโรคมะเร็ง (Cancer) ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism) มีมูลค่าถึง 70,000 ถึง 200,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,520,000 ถึง 7,000,000 บาท) โดยจุดหมายปลายทาง (Destination) ยอดนิยมได้แก่ ประเทศไทย, สิงคโปร์, และอินเดีย

แนวโน้มการเติบโตของผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ (ยารักษาโรค) 

จากข้อมูลของหน่วยงานวิจัยตลาด (Market research) พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านเภสัชกรรม (Drug expenditure) ในเมียนมาเพิ่มขึ้น +11% ต่อปีและในปี พ.ศ. 2566 มีมูลค่าที่พยากรณ์ (Forecast) กว่า +1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 38.5 พันล้านบาท) ซึ่งเป็นการใช้ในการพัฒนาสถานพยาบาล (Hospital), ศูนย์สุขภาพ (Health center), ยา (Drug), และบุคลากรทางการแพทย์ (Medical staff)

นอกจากนี้รัฐบาลเมียนมายังพยายามผลักดัน (Push) และส่งเสริม (Promote) การพัฒนาด้านคุณภาพ (Quality) ของโรงพยาบาลและคลินิกในท้องถิ่นให้ดีขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (International standard) อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชกรรมและ อุปกรณ์การแพทย์ (Medical equipment) ก็มีแนวโน้ม (Trend) เพิ่มสูงขึ้น

รัฐบาลเมียนมาพยากรณ์ว่า การพัฒนา (Development) และการปรับปรุง (Improvement) ระบบคุณภาพทางด้านสาธารณสุข (Public health) จะเพิ่มมากขึ้นอีกราว +10 ถึง +15% ต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้า ประกอบกับจำนวนบริษัทที่จดทะเบียน (Register) ในการนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม ในปัจจุบันมีจำนวนกว่า 250 บริษัท 

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.ditp.go.th/post/128513 [2024, December 2].
  2. https://www.trade.gov/country-commercial-guides/burma-market-overview [2024, December 2].