3. ตลาดยา – ตอนที่ 41
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 24 กันยายน 2567
- Tweet
ข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri Research) พบว่า ทิศทาง (Direction) อุตสาหกรรมยา (Pharmaceutical industry) ยังมีศักยภาพ (Potential) เติบโตต่อเนื่อง (Continuous growth) จากแนวโน้ม (Trend) การจำหน่ายยาในประเทศ (Domestic) ไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ถึง พ.ศ. 2568 คาดการณ์ (Forecast) ว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 5 ถึง 6% ต่อปี
สาเหตุมาจากทิศทาง (Direction) ของเศรษฐกิจ (Economy) กลับสู่ภาวะปกติ (Return to normal) ส่งผลให้ผู้ป่วยต่างชาติ (Foreign patients) กลับมาใช้บริการมากขึ้น หลังการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19
ตลอดจนการเข้าถึง (Access) ระบบหลักประกันสุขภาพ (Health insurance) ถ้วนหน้า (Universal) และพฤติกรรม (Behavior) ผู้บริโภคที่ใส่ใจดูแลสุขภาพ (Health consciousness)
ส่งผลให้ความต้องการ (Demand) บริโภคยาเพิ่มขึ้น โดยคาด (Forecast) ว่ามูลค่าการจำหน่าย (Distribution) ยาผ่านช่องทาง (Channel) โรงพยาบาลจะเติบโตเฉลี่ยที่ 6.3% ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการจำหน่ายผ่านร้านขายยา (Drug store) จะเติบโตเฉลี่ยที่ 5.0 % ต่อปี
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer: CEO) บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ” หรือ “TMAN”) กล่าวถึง ยุทธศาสตร์ (Strategy) มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation) ยาและเวชภัณฑ์ (Medical supplies) ที่มีคุณภาพ (Quality) สนับสนุนคนไทยมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน (Sustainably) ว่า
ตลาดยา (Pharmaceutical market) แผนปัจจุบัน (Modern medicine) มีมูลค่า 2 แสนกว่าล้านบาท ในช่วงไวรันโควิด-19 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยายังอยู่ได้แม้จะเติบโตลดลง (Decline) จากราว 6% เป็น 2% และคืนกลับ (Recover) มาสู่ปรกติได้ หลังวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19
โดยมีปัจจัยในเรื่องของสิทธิประกันสุขภาพ (Health insurance) ของคนไทยทั้งสิทธิทั้งบัตรทอง (Gold card), ประกันสังคม (Social security), และข้าราชการ (Civil servants) เป็นปัจจัย (Factor) ที่ทำให้ตลาดยาเติบโต
รวมถึงไปการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ที่มาพร้อมกับโรค โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases: NCDs) เรื้อรัง (Chronic) อันได้แก่ โรคมะเร็ง (Cancer), โรคหัวใจ (Heart), โรคเบาหวาน (Diabetes), โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพมากขึ้น เพื่อป้องกันโรคต่างๆ, สภาพอากาศ ฝุ่น PM2.5 (ซึ่งเป็นอากาศที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรคเจือปน, และการเข้าสู่สังคมเมือง (Urban society) ทำให้ต้องเผชิญมลภาวะ (Pollution) และขาดการออกกำลังกาย (Lack of exercise)
อันที่จริง ความต้องการ (Demand) เสริมภูมิคุ้มกัน (Immunity boosting) หรือป้องกันโรคเพิ่มขึ้น เป็นโอกาส (Opportunity) ของตลาดยา ขณะเดียวกัน ตลาดสมุนไพร (Herbal market) เติบโตกว่า 5.5% โดยประเทศไทยนับเป็นผู้นำด้านสมุนไพรในอาเซียน (= ASEAN หรือ Association of South East Asia Nations)
เป้าหมาย (Target) ของภาครัฐ (Public sector) คือการนำเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับ (Raise) มาตรฐาน (Standard) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการผลิตสมุนไพร นอกจากปัจจัยเอื้อหนุน (Support) ดังกล่าวแล้ว ตลาดเสริมอาหาร (Food supplement) ซึ่งเติบโตกว่า 8.4 ถึง 9% จากปัจจัยจากสังคมสูงวัย (Aging society) และแนวโน้ม ที่คนเริ่มมองหายาเสริมภูมิคุ้มกัน
แหล่งข้อมูล –
- https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1128960 [2024, September 23].
- https://www.facebook.com/marketeeronline/posts/ตลาดยาและเสริมอาหาร/688529656725061/ [2024, September 23].